รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง รูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง The Model of Decentralization-oriented Administration in Basic Educational Institutions
ชื่อผู้แต่ง
1.เทพรินทร์ เขื่อนปัญญา
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การมอบอำนาจหน้าที่
2.การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- ไทย -- การบริหาร
3.โรงเรียน -- การกระจายอำนาจ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้ศึกษาการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหาร (2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มงานต่อการกระจายอำนาจ (3) พัฒนารูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจ (4) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนประเภทที่ 1 รุ่นที่ 1 ที่เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 372 โรงเรียน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 193 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน และหัวหน้ากลุ่มงาน ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป รวม 965 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเพื่อนำผลที่ได้มาร่างรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมทั้งนำร่างรูปแบบไปตรวจสอบโดยทดลองใช้ในสถานศึกษา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (64%) มีอายุการทำงาน (67%) ระหว่าง 6-10 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (87%) มีตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายงาน หรือกลุ่มงาน (35%) และพบว่า มีการมองหมายภารกิจงานให้หัวหน้ากลุ่มงานและ/ หรือทำร่วมกันระหว่างผู้บริหารกับสภาพของการกระจายอำนาจด้านวิชาการ พบว่า อยู่ในระดับมาก หัวหน้ากลุ่มงานนอกจากนี้ยังเห็นว่ากระบวนการบริหารควร ประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์กร การนำองค์กร การควบคุม การประเมินผล การรายงาน และวิธีปฏิบัติ เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการบริหาร สำหรับรูปแบบการบริหารที่เน้นการกระจายอำนาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีองค์ประกอบ 8 หลักการ มีกระบวนการบริหารสถานศึกษา จำนวน 6 ขั้นตอน ภารกิจงานบริหารสถานศึกษา จำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานบุคคล และด้านบริหารทั่วไป ผลการประเมินการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ด้านวิชาการ มี ความถูกต้อง ความเหมาสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านงบประมาณ มี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านบริหารงานบุคคล มี ความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน และด้านบริหารทั่วไป มีความถูกต้อง ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
ปีที่ 5
ฉบับที่ 133
หน้าที่ 116 - 126
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-159x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)