รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีเพื่อลดพฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องรอง Tri-Lateral Approach of Caring and Supporting Systems for Decreasing Students' Indisciplined Behaviors in the Secondary Schools
ชื่อผู้แต่ง
1.อรทัย ฉัตรภูติ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียน -- การดูแล
2.โรงเรียน -- การบริหาร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยประเภทต่าง ๆ ที่มีต่อพฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษา (2) พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้มีประสิทธิภาพและ (3) ประสิทธิผลในการลดพฤติกรรมผิดวินัยของนักเรียนโดยอาศัยระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีที่กำหนดขึ้น ช่วงแรกเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาตามแนวคิดของ Lombroso และกฎกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2515 ว่าด้วยการต่างกายและความประพฤติของนักเรียนโดยใช้แบบสอบถามนักเรียนในโรงเรียนขนาดใหญ่สามแห่ง จำนวน 400 คน ในช่วงเดือนสิงหาคม 2552 โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Multiple Regression หลังจากนั้นนำผลมากำหนดขึ้นเป็นคู่มือตามระบบไตรภาคีดังกล่าว เพื่อนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ในช่วงภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ด้วยวิธีวิจัยแบบเชิงทดลองนำร่องแบบใช้การวิเคราะห์ Chi-Squareและ Marascuilo’ s Test ในภาพรวมและวิเคราะห์ความแตกต่างของผลที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่า (1) อิทธิพลของโรงเรียนมีผลต่อการขาดเรียนโดดเรียน การไว้ผมยาวผิดระเบียบของนักเรียนแต่งกายผิดระเบียบ ใช้เครื่องสำอางเพื่อการเสริมสวย เที่ยวเร่ร่อนในที่สาธารณะ ขีดเขียนทำลายสาธาณสมบัติ มั่วสุม ก่อความเดือดร้อน แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ ดื่มสุรา เที่ยวสถานค้าประเวณี และประพฤติตนในเชิงชู้สาว (3) อิทธิพลในการคบเพื่อน มีผลต่อการขาดเรียนโดดเรียน ไว้ผมยาวผิดระเบียบของทางโรงเรียนแต่งกายผิดระเบียบ แสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ และเที่ยวดิสโก้เธค ผับ บาร์ (4) ปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อการดื่มสุราและมีวัตถุระเบิด อาวุธติดตัว (5) สื่อสารมวลชน มีผลต่อการเที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน ดื่มสุรา และ เที่ยวดิสโก้เธค ผับ บาร์ (6) อบายมุขต่างๆ มีผลต่อพฤติกรรมผิดวิจัยทุกตัว ในส่วนของประสิทธิภาพของระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่ผู้วิจัยได้นำไปทดลองใช้ในช่วงหลังพบว่า จำนวนครั้งที่นักเรียนกระทำผิดวินัยก่อนกับหลังการนำระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีไปใช้ของทั้งสามโรงเรียน พบว่าพฤติกรรมผิดวินัย 14 ข้อที่ แตกต่างกันโดยที่หลังการใช้คู่มือจำนวนครั้งที่นักเรียนกระทำผิดวินัยน้อยกว่าก่อนนำคู่มือไปใช้ และโรงเรียนแต่ละแห่งมีสัดส่วนการลดลงที่แตกต่างกันด้วย นั่นคือระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนแบบไตรภาคีที่นำมาใช้มีประสิทธิภาพสูงกว่าระบบเดิม
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย สังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์
ปีที่ 5
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 64 - 73
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-159x
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)