ชื่อเรื่อง |
ปรัชญาการเมืองของเหล่าจื้อกับขงจื้อ: การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ
|
ชื่อเรื่องรอง |
Political Philosophy of Lao Tzu and Confucius : The Comparative Study
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ธนะพัฒน์ รัตนเสนา |
2. | ศิริวรรณ เกษมศาต์กิดาการ |
3. | ผจญ คำชูสังข์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | การศึกษาเชิงเปรียบเทียบ |
2. | ปรัชญาการเมือง |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางปรัชญาการเมืองของเล่าจื้อ 2) ศึกษามโนทัศน์ทางปรัชญาการเมืองของขงจื้อ และ 3) เปรียบเทียบมโนทัศน์ทางปรัชญา
ผลของการวิจัย
1) มโนทัศน์ทางปรัชญาการเมืองของเล่าจื้อมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดเรื่อง “เต๋า” หรือ “กฎธรรมชาติ” อันเป็นสิ่งสากล ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยหรือสถานที่ใดๆ และมันมีอยู่โดยตัวของมันเองไม่ได้ถูสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ดังนั้นมโนทัศน์ทางการเมืองของเล่าจื้อจึงเป็นมโนทัศน์ที่เป็นสากล กล่าวคือ หากปกครองบ้านเมืองโดยใช้หลักของ “เต๋า” หรือ “กฎธรรมชาติ” เป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นยุคสมัยหรือสถานที่ใดๆ ก็ตาม ย่อมถูกต้องเหมือนกันหมด นอกจากนี้หลักการปกครองดังกล่าวยังเป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าหลักการใดๆ ก็ตามที่มนุษย์สร้างขึ้น
2) มโนทัศน์ทางปรัชญาการเมืองของขงจื้อมีพื้นฐานมาจากแนวความคิดเรื่อง “เหริน” หรือ “มนุษยธรรม” โดยขงจื้อได้ผสมผสานแนวความคิดนี้ของตนเข้ากับวัฒนธรรม ขนบ ธรรมเนียม จารีต ประเพณีในสมัยราชวงศ์โจว เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง นอกจากนี้ผู้ปกครองหรือรัฐบาลเองก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตามหลักดังกล่าวเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน
3) เมื่อเปรียบเทียบกับมโนทัศน์ทางปรัชญาการเมืองของเล่าจื้อและขงจื้อ จะพบว่ามีทั้งจุดที่แตกต่างและจุดที่ร่วมกันอยู่เล่าจื้อมีจุดยืนที่เรื่องของกฎธรรมชาติ (เต๋า) อันเป็นสิ่งสากลไม่เปลี่ยนแปลง แต่ขงจื้อมีจุดยื่นอยู่ที่เรื่องของหลักมนุษยธรรม (เหริน) ที่ผสมผสานเข้ากับวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นไม่มีความเป็นสากล สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยหรือสถานที่ได้ ดังนั้น มโนทัศน์ของเล่าจื้อจึงมีความเป็นสากลมากกว่ามโนทัศน์ของขงจื้อ แม้ว่าจะมีมโนทัศน์ทางการเมืองที่ต่างกันอย่าเห็นได้ชัด แต่ปราชญ์ทั้งสองท่านนั้นต้องการในสิ่งเดียวกัน คือ ความสงบสุขของประเทศ นั่นเอง
|