รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องรอง The Relationship Between Transformational Leadership of School Administrators and School Culture in Pattaya Municipality, Chonburi Province
ชื่อผู้แต่ง
1.พรวิมล ขันเคน
2.สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.วัฒนธรรมองค์การ
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา และสร้างสมการพยากรณ์วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนและจากตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี จำนวน 248 คนได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan, 1970) ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นโดยกำหนดขนาดโรงเรียนเป็นชั้นในการสุ่ม และสุ่มอย่างง่ายเพื่อให้ได้รายชื่อกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มี 2 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา และแบบสอบถามเกี่ยวกับวัฒนธรรมโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .25-.86 และ .42 ถึง .84 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 และ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) การวิเคราะห์ด้วยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน (Stepwise multiple regression) ผลการวิจัยพบว่า 1.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและวัฒนธรรมองค์การของโรงเรียน สังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2.การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำแนกตามขนาดของโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่เมื่อจำแนกตามประเภทโรงเรียนโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3.การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์การ จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและประเภทโรงเรียนโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4.ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารโรงเรียนที่มีอำนาจพยากรณ์วัฒนธรรมองค์การได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มี 3 ด้าน คือ การเป็นผู้สร้างความสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นรายบุคคล (x_4) การเป็นผู้สร้างแรงดลใจ (x_2) และการเป็นผู้กระตุ้นให้ใช้สติปัญญา (x_3) ได้สมการพยากรณ์วัฒนธรรมองค์การของโรงเรียนในรูปสมการคะแนนดิบคือ Ŷ = .854 + .304(x_4) + .250(x_2) + .222(x_3) และในรูปคะแนนมาตรฐานคือ Z = .366z_x4 + .262z_x2 + .254z_x3
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์
ปีที่ 26
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 198
ปีพิมพ์ 2558
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)