รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องรอง The Development of Instructional Administration Model for Private Kindergarten Schools in Phrae Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ดวงกมล สวิง
2.พิตร ทองชั้น
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ
2.การบริหารงานวิชาการ
3.โรงเรียนอนุบาลเอกชน
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดแพร่ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชนในจังหวัดแพร่ และ 3) ศึกษาความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในจังหวัดแพร่ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์เอกสารและ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย 2) พัฒนาองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนเอกชน ด้วยเทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน 3) ทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบโดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 8 คน 4) ประเมินความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ จำนวน 130 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1.องค์ประกอบรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในจังหวัดแพร่ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบหลัก มี 11 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ 1.องค์ประกอบหลักที่ 1 ขอบข่ายรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน มี 5 องค์ประกอบย่อย คือ 1) ด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน 3) ด้านการจัดสื่อการเรียน การสอน 4) ด้านการวัดและประเมินผลงาน และ 5) ด้านการนิเทศการศึกษา 2.องค์ประกอบหลักที่ 2 กระบวนการพัฒนาการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชน มี 6 องค์ประกอบย่อย คือ 1) การระบุเป้าหมาย 2) การจัดทำแผนกลยุทธ์ 3) การปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ 4) การส่งเสริมควบคุมกำกับ ติดตามและนิเทศ 5) การตรวจสอบและการประเมินผล และ 6) การสะท้อนผล รายงานผลการดำเนินงาน และการนำผลการประเมินไปใช้ 2.การทดสอบความสอดคล้องของรูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนในจังหวัดแพร่ โดยการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) จากผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการทั้ง 8 คน พบว่าทุกคนมีความคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนมีความเหมาะสม 3.การประเมินความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานวิชาการ ในจังหวัดแพร่ ทั้ง 130 คน พบว่ารูปแบบการบริหารงานวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาลเอกชนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะด้านด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์
ปีที่ 26
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 186
ปีพิมพ์ 2558
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-3212
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)