รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาสาระในภาพระบายสีเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกาาปีที่ 5 จังหวัดปัตตานี
ชื่อเรื่องรอง A Study of Content in Paintings Concerning Thai Culture of Prathom Suksa Five Students in Pattani Province
ชื่อผู้แต่ง
1.ชัยวัฒน์ ผดุงพงษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสาระในภาพระบายสี เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดปัตตานี โดยแบ่งออกเป็น 8 ด้าน ดังนี้ 1.ชาติ 2.ศาสนา 3.การเมืองการปกครอง 4.ประเพณี 5.ปัจจัยในการดำรงชีวิต 6.ศิลปกรรม 7.จรรยามารยาท และ 8.การละเล่น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองปัตตานี ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 344 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบทดสอบการวาดภาพระบายสี 2. แบบสอบถามเกี่ยวกับการวาดภาพระบายสีและ 3. แบบวิเคราะห์ภาพวิเคราห์ข้อมูล โดยหาค่าจำนวนและร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า สาระในด้านประเพณีมากที่สุด (ร้อยละ 63.95) รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ด้านศิลปกรรม (ร้อยละ 12.50), ด้านจรรยามารยาท (ร้อยละ 7.83), ด้านศาสนา (ร้อยละ 7.27), ด้านการละเล่น (ร้อยละ 4.65), ด้านปัจจัยในการดำรงชีวิต (ร้อยละ 2.33), ด้านชาติ (ร้อยละ 1.45) และไม่ปรากฏด้านการเมืองการปกครอง สาระเรื่องราวในภาพที่พบมากที่สุด คือ เรื่องราวทางด้านประเพณี ประกอบไปด้วยประเพณีลอยกระทงมากที่สุด (ร้อยละ 39.55) รองลงมาตามลำดับ ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ (ร้อยละ 26.82), การแต่งกาย (ร้อยละ 20.45), การแข่งเรือ (ร้อยละ 8.18), ทำบุญเดือนสิบ (ร้อยละ 1.82), บุญบั้งไฟและกวนอาซูรอ มีจำนวนเท่ากับ (ร้อยละ 1.36) น้อยที่สุดได้แก่ แห่นางแมว (ร้อยละ 0.45) รายละเอียดของสิ่งที่ปรากฏในภาพมากที่สุดที่สุดคือด้านประเพณี (ร้อยละ 40.57) ซึ่งแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีลอยกระทงมากที่สุด รายละเอียดที่ปรากฏได้แก่พระจันทร์เต็มดวง คนลอยกระทง การคุกเข่าอธิษฐานขอพร และโคมลอยตามลำดับ รองลงมาได้แก่รายละเอียดเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ ได้แก่ การสาดน้ำด้วยขัน เล่นปืนฉีดน้ำ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และการสรงน้ำพระตามลำดับ ส่วนที่พบน้อย ได้แก่ ประเพณีทำบุญเดือนสิบ ประเพณีกวนอาซูรอ ประเพณีบุญบั้งไฟ และประเพณีแห่นางแมว ในด้านความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพระบายสี พบว่ากิจกรรมทางศิลปศึกษาที่นักเรียนชอบมากที่สุดได้แก่ กิจกรรมการวาดภาพระบายสี (ร้อยละ 63.08) สำหรับการวาดภาพเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย นักเรียนต้องมีแบบบ้างเพื่อใช้เป็นข้อมูล (ร้อยละ 61.63) นักเรียนรู้สึกชอบถ้าในวิชาศิลปศึกษา ครูนำเอาเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทยมาให้ฝึกปฏิบัติเสมอ (ร้อยละ 96.22)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 24
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 117-139
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0857-1791
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)