รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง พัฒนาการคุณภาพการศึกษาไทยโดยผ่านโมเดลโค้งพัฒนาการในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ชื่อเรื่องรอง The Development of Thai Educational Quality Through Growth Curve Models in Studying Longitudinal Changes in Ordinary National Educational Testing (O-NET) of Student in Mathayomsuksa 6
ชื่อผู้แต่ง
1.กนกกร ศิริสุข
2.อิศรัฏฐ์ ริไธสง
3.จรัส อติวิทยาภรณ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย
หัวเรื่องควบคุม
1.การวัดผลทางการศึกษา
2.การศึกษา -- ไทย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาโมเดลโค้งพัฒนาการในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ที่ไม่มีตัวแปรร่วมและมีตัวแปรร่วมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ปีการศึกษา 2551-2554 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2,775 โรงเรียนเครื่องมือในการวิจัยคือแบบตรวจรายการผลคะแนนทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และแบบแยกรายการตามตัวแปรร่วม ได้แก่ ภูมิภาค สังกัด เขตชนเมือง/เขตขนบท และขนาดของโรงเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติระดับความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลโค้งพัฒนาการผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ไม่มีตัวแปรร่วมในวิชาภาษาไทย วิชาภาษาอังกฤษ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาวิทยาศาสตร์ มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีมีแนวโน้มลดลง โดยวิชาภาษอังกฤษมีแนวโน้มลดลงมากที่สุด ส่วนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยทุกโมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) โมเดลโค้งพัฒนาการผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่มีตัวแปรร่วมพบว่า ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคเหนือมีคะแนนเริ่มต้นวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สูงกว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีคะแนนเริ่มต้นไม่ต่างกัน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีน้อยกว่าภาคอื่นทุกวิชาโรงเรียนเอกชนมีคะแนนเริ่มต้นสูงกว่าโรงเรียนรัฐบาลทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทยมีคะแนนเริ่มต้นไม่ต่างกัน แต่มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีน้อยว่าโรงเรียนรัฐบาลในวิชาภาษาไทยและวิชาวิทยาศาสตร์ส่วนวิชาอื่นไม่ต่างกัน โรงเรียนในเขตเมืองมีคะแนนเริ่มต้นสูงกว่าโรงเรียนในเขตชนบททุกวิชา แต่มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีร้อยกว่าโรงเรียนเขตชนบททุกวิชายกเว้นวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีไม่ต่างกัน โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีคะแนนเริ่มต้นและอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กทุกวิชา ยกเว้นวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมที่มีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีไม่ต่างกัน โรงเรียนขนาดใหญ่มีคะแนนเริ่มต้นในวิชาภาษาไทยและวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กส่วนวิชาอื่นไม่ต่างกัน และมีอัตราคะแนนพัฒนาการต่อปีในวิชาคณิตศาสตร์สูงกว่าโรงเรียนขนาดเล็กส่วนวิชาอื่นไม่ต่างกัน โรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียนขนาดเล็กมีคะแนนเริ่มต้นและอัตราคะแนนพัฒนาการไม่ต่างกันทุกวิชา โดยทุกโมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 24
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 28 - 58
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0857-1791
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)