รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการฟังเพื่อจับใจความจากการบรรยายในชั้นเรียนด้วยวิธีการจดบันทึกของนักศึกษาโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กรณีศึกษารายวิชากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย
ชื่อเรื่องรอง Development of Listening Skills for Comprehension from Lectures in Class with Note Taking Method of Student in Public Administration Program, Faculty of Humanities and Social Sciences, Nakhon Pathom Rajabhat University: Case Studyn Class of Thai Asministration Law
ชื่อผู้แต่ง
1.นิภาพรรณ เจนสันติกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การฟังเพื่อจับใจ
หัวเรื่องควบคุม
1. การบรรยาย
2.การฟัง
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะการฟังเพื่อจับใจความจากการบรรยายในชั้นเรียนด้วยวิธีการจดบันทึกของนักศึกษาโปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม กรณีศึกษารายวิชากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียน และวิธีการเรียนแบบปกติ ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษา ค่าดัชนีประสิทธิผลของวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียน และวิธีการเรียนแบบปกติ 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียน กับวิธีการเรียนแบบปกติและ 4) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 โปรแกรมวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ที่ศึกษาในรายวิชากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 รวม 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่า E1/E2 ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าอานาจจาแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าดัชนีประสิทธิผล และสถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. วิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียนมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 76.47/82.15 และวิธีการเรียนแบบปกติมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 74.36/79.67 ซึ่งประสิทธิภาพของวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียนไม่สอดคล้องตามเกณฑ์ 80/80 ในส่วนประสิทธิภาพของกระบวนการ แต่ประสิทธิภาพของผลลัพธ์สอดคล้อง และประสิทธิภาพของวิธีการเรียนแบบปกติไม่สอดคล้องตามเกณฑ์ 80/80 2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียนมีค่าเท่ากับ 0.6872 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 68.72 และค่าดัชนีประสิทธิผลของวิธีการเรียนแบบปกติได้ค่าเท่ากับ 0.6578 แสดงว่าผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 65.78 3. ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียน พบว่านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = -46.985, Sig. = 0.000) และผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ พบว่า นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (t = -36.546, Sig. = 0.000) 4. ทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบจดบันทึกในชั้นเรียนอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก คาสาคัญ: ทักษะการฟัง การจับใจความ การจดบันทึกในชั้นเรียน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่ 24
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 58 - 69
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0857-1791
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)