หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปด้านศิลปวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษาหลังสมัยใหม่
ชื่อเรื่องรอง
The Learning and Teaching Arts and Cultures as the General Education Subjects in Higher Educational Institutions in the Post-Modern Age
ชื่อผู้แต่ง
1.
ปัญญา เทพสิงห์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
วัฒนธรรม -- การศึกษาและการสอน(อุดมศึกษา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์อธิบายถึงการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป ด้านศิลปวัฒนธรรม ในสถาบันอุดมศึกษาหลังสมัยใหม่ โดยวิธีสังเคราะห์จากเอกสารเนื้อหาแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของบริบทสังคมในมิติต่างๆ เมื่อเข้าสู่ยุคหลังสมัยใหม่อันเป็นเหตุต้องปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนด้านศิลปวัฒนธรรมจากการศึกษาพบว่า การจัดการด้านองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมหลังสมัยใหม่ควรประกอบด้วยองค์ความรู้สามลักษณะ คือ 1) องค์ความรู้ที่เน้นความเข้าใจตนเองและความหลากหลายของผู้อื่น 2) องค์ความรู้ที่เน้นการใช้ภาษา เหตุผลและการสื่อสาร 3) องค์ความรู้ที่เน้นด้านสุนทรียะและจริยธรรม การเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ ความเข้าใจต้องลดบทบาทของผู้สอนให้ความสาคัญกับตัวบทหรือผู้เรียนมากขึ้นให้ความรู้เกิดจากผู้เรียนบูรณาการหรือตีความหมายขึ้นเองนาเอาความต่างมาสังเคราะห์ขึ้นใหม่ อย่ากังวลว่าถ่ายทอดความรู้ของผู้สอนไม่เต็มที่ ด้านผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการของตนเอง เข้าใจในจุดมุ่งหมายและเห็นประโยชน์ที่จะได้แท้จริงของศิลปวัฒนธรรม สร้างอิสรภาพให้เรียนรู้มากขึ้นอยู่เหนือกรอบที่เป็นเครื่องพันธนาการแต่เดิม สืบเสาะ แสวงหา วิเคราะห์ตาม สภาพที่เป็นจริงฝึกคิดแบบสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เชื่อมโยงที่ไม่ยึดกรอบมากกว่าความคิดแบบเส้นตรง (Linear Thinking) ที่ใช้หลักเหตุผล ศิลปวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงได้ทุกขณะอย่างรวดเร็ว ยากที่ผู้สอนชี้แนะฝ่ายเดียวด้านกระบวนการเรียนการสอนศิลปวัฒนธรรม 1) เน้นที่การพึ่งตนเองสร้างแบบเรียนอิเลคทรอนิคส์ ห้องเรียนเสมือนและเสริมประสบการณ์ตรงแก่ผู้เรียน 2) เน้นที่การวิเคราะห์นาแบบอย่างศิลปวัฒนธรรมมาแยกแยะให้เห็นปรากฏการณ์ต่างๆทางสังคมแบบวิพากษ์วิจารณ์มิใช่ให้คาตอบหรือข้อสรุปแน่นอน 3) เน้นที่ปัญหาให้ผู้เรียนเข้าใจสาระและสร้างความรู้ขึ้นมาจากปัญหานั้นๆอาจดาเนินร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้ตรงและตอบคาถามที่จะเข้าใจปัญหา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ปีที่
24
ฉบับที่
2
หน้าที่
22 - 42
ปีพิมพ์
2556
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0857-1791
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)