รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.เกียรติวัฒน์ วัชญากาญจน์
2.สุรางค์ เมรานนท์
3.ชาตรี เกิดธรรม
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา
2.นักศึกษาวิชาชีพครู
3.การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิฃาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษาวิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาพลศึกษา นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เรื่อง องค์ประกอบการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ตรวจคุณภาพ แบบสอบถามหาดัชนีความสอดคล้องความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและค่าความเชื่อมั่นโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.89 ใช้กระบวนการวิธีจัยเชิงสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบ ระยะที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่มในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและยืนยันรูปแบบโดยการสนทนากลุ่มของผู้เชียวชาญ จัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การเรียนรายวิชาเซปักตะกร้อ 1 ตรวจสอบคุณภาพหาค่าดับชนีความสอดคล้องความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หาค่าความเชื่อมั่นตามวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.81 -0.89 และค่าความยาก-ง่าย มีค่าระหว่าง 0.45-0.55 นำแผนการจัดการเรียนรู้ฉบับสมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ระยะเวลาในการทดลอง 16 สัปดาห์ๆ ละ 3 ชั่วโมงใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลองที่มีการควบคุมบางส่วนแบบหนึ่งกลุ่มวัดหลายครั้งทดสอบทักษะกีฬาเซปักตะกร้อก่อนและหลังเรียนทุก 2 สัปดาห์ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามกรอบมาตรฐาน TQF ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1. องค์ประกอบการเรียนการสอนพลศึกษาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาชาวิชาพลศึกษา สถาบันการพลศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีการเรียนรู้ 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการเรียนการสอน 4) กิจกรรมการเรียนการสอนและ 5) การวัดและการประเมินผล ค่าน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบเท่ากับ 0.895, 0.800, 0.811, 0.889 และ 0.843 ตามลำดับ 2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ประกอบด้วย 2.1) การเรียนรู้ด้วยการกระทำหรือการลงมือปฏิบัติจริงทฤษฎีการเรียนรู้ คือ กลุ่มทฤษฎีการสร้างความสัมพันธ์ต่อเนื่องและกลุ่มทฤษฎีการเรียนรู้แบบปัญญา 2.2) วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ และการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา รู้จักคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีความรับผิดชอบและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์การทำงานร่วมกัน ด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี ด้านทักษะกีฬาและสมรรถภาพทางกาย 2.3) ขั้นตอนการเรียนการสอน 7 ขั้น คือ 1) ขั้นการทำสมาธี 2) ขั้นการเตรียมความพร้อมและอบอุ่นร่างกาย 3) ขั้นการอธิบายและสาธิต 4) ขั้นการฝึกหัดทักษะ 5) ขั้นการเคลื่อนไหวศึกษา 6) ขั้นการนำไปประยุกต์ใช้และนำเสนองานและ 7) ขั้นสรุปและสุขปฏิบัติ 2.4) กิจกรรมการเรียนการสอนคือการฝึกปฏิบัติสมาธิและการสังเกตพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม การศึกษาเนื้อหา ประวัติ ทดสอบ อภิปรายความรู้และทักษะกีฬาไปประยุกต์ใช้ในการแข่งขันและนำเสนองานหน้าชั้นเรียน การจัดทำโครงงานการจัดการแข่งขันทักษะกีฬาแบบกลุ่ม การสร้างโปรแกรมและกำหนดการแข่งขันทักษะกีฬา และการส่งงานผ่านระบบจดหมายอิเทคทรอนิคส์ การฝึกปฏิบัติ ทดสอบทักษะกีฬาและสมรรถภาพทางกาย และ 2.5) การวัดและการประเมินผล ใช้แบบวัดผลสัม ฤทธิ์ทางการเรียน 5 ด้านตามกรอบมาตรฐาน TQF และแบบทดสอบทักษะกีฬาและสมรรถภาพทางกาย 3. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน ปรากฏดังนี้ 3.1 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้และการจัดการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา คิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลความรับผิดชอบและส่งเสริมปฏิสัมพันธ์การทำงานร่วมกันด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสมรรถภาพทางกาย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยทักษะกีฬาเซปักตะกร้อ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร ปาริชาต
ปีที่ 27
ฉบับที่ 3 (ฉบับพิเศษ)
หน้าที่ 1
ปีพิมพ์ 2557
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0867-0884
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)