รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
บุพนิมิตรทางการศึกษา: ชาวนาบัณฑิต
|
ชื่อเรื่องรอง |
Educational Enlightenment: Chao-na Bundit
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | เกษตรกร -- ไทย |
2. | ชาวนา -- การศึกษา |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
ชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ แต่ในสถานการณ์ปัจจุบันชาวนามี “พื้นที่” (space) น้อยมาก ภาพที่ปรากฏชาวนายังถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน และขาดการดูแลจากรัฐ โดยเฉพาะการส่งผ่านข้อความรู้ในระบบโรงเรียนชาวนาบัณฑิต เป็นอีกหนึ่งกระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาไทยที่สถาปนาความศักดิ์สิทธิ์ของคน “รากหญ้า”ให้กลับกลายเป็นคนรากแก้ว บุพนิมิตทางการศึกษานี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีหลักสูตรที่อิงแอบกับวัฒนธรรมข้าวภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้พื้นบ้านเพื่อการสร้างอัตลักษณ์ การเรียนรู้ที่เน้นการส่งผ่านข้อความรู้เชิงปฏิบัติการผสมผสานแนวคิดทฤษฎีแห่งรัฐชาติไทยในปริบทของสังคมเกษตรกรรม ฉะนั้นการจัดการเรียนการสอนเพื่อชาวนาให้มี “พื้นที่ทางการศึกษา”มากขึ้นคงเป็นอีกหนึ่งของสัญญาของการพัฒนาแบบยั่งยืน
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)