รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยทางการบริหารท่ี่สัมพันธ์กับการบริหารจดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
ชื่อเรื่องรอง Administrative Factors Related to Curriculum Management of Primary Schools Under Nakhon Si Tammarat Primary Educational Service Area Office 3
ชื่อผู้แต่ง
1.พนัส ภิรมย์รักษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ปัจจัยทางการบริหาร
2.การบริหารการจัดการหลักสูตร
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหารและการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำแนกตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน และ(2)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารการจัดการสูตรสถานศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต3จำนวน608 คนได้มาจากการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ซึ่งโรงเรียนเป็นหน่อยสุ่มโดนวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลายขั้นตอนเครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่าโดยมีค่าความเชื่อมั่น0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติ ค่าฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแล้วทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเซฟเฟ่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ การถอดพหุคูรแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยการบริหาร และการบริหารจัดการหลักสูตร โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางการบริหาร และการบริหารการจัดการหลักสูตรจำแนกตามตวามคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูผู้สอน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .1 (3) ปัจจัยทางการบริหารมีควาสัมพันธ์กันทางบวกอยู่ในระดับสูงกับการบริหารการจัดการหลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ปัจจัยการบริหารซึ่งเป็นตัวแปรพยากรณ์ทั้งหมดมี 4 ตัวแปรคือ ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ (x1) ปัจจัยด้านบุคคล(x2)ปัจจัยด้านแรงจูงใจ(x3)และปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม (x4) สามารถพยากรณ์การบริหารจัดการหลักสูตรได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .905 มีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 81.90 สร้างสมการพยากรร์การบริหารจัดหลักสูตรได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ y =.375+0542(x4)+.275(x2)+.149(x3)-.058(x1) สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน y =.577(zx4)+.316(zx2)+.147(zx3)-.067 (zx1)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารเทคโนโลยีภาคใต้
ปีที่ 7
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 25
ปีพิมพ์ 2014
ชื่อสำนักพิมพ์ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0870
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)