รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานพื้นบ้าน เพื่อฝึกทักษะการอ่าน การวิเคราะห์ และการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่3
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | นิทาน |
2. | ทักษะ |
3. | อ่าน |
4. | คิด |
5. | วิเคราะห์ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านชุดนิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อศึกษาผลการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานพื้นบ้าน เพื่อฝึกทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านชุดนิทานพื้นบ้านสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในปีการศึกษา 2555 โรงเรียนท่าสองแคว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ชุดฝึกทักษะการอ่าน การคิด วิเคราะห์ และการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 รวม 6 เรื่อง เพื่อใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนดังนี้ เรื่องที่ 1 นิทานเรื่องช้างกับคน เรื่องที่ 2 นิทานเรื่องเมตตาของแม่ เรื่องที่ 3 นิทานเรื่องป่ากว้างช้างไพร เรื่องที่ 4 นิทานเรื่องนกฮูกเจ้าปัญญา เรื่องที่ 5 นิทานเรื่องช้างาดำตาแดง และเรื่องที่ 6 นิทานเรื่องเจ้ายางเดื่อผู้ปราดเปรื่อง พร้อมกับทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน รวม 30 แผน โดยในแต่ละแผนนั้นก็จะมีกิจกรรมการฝึกทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งในระหว่างเรียนและหลังเรียนเพื่อนำผลของคะแนนที่ได้ไปหาค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าร้อยละ (Percentage) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานพื้นบ้านเพื่อฝึกทักษะ การอ่านการคิดวิเคราะห์ และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่าเฉลี่ยตามเกณฑ์ประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.74/82.81
2. ผลประเมินการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีนักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีเยี่ยม จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 62.50 และในระดับดี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดนิทานพื้นบ้าน เพื่อนฝึกทักษะการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 คะแนนเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.63 และต่ำสุดเท่ากับ 4.44
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)