รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ผลการใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารพื้นบ้านล้านนา ดดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขาการท่องเที่ยว วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | หน่วยการเรียนรู้ |
2. | อาหารพื้นบ้านล้านนา |
3. | ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับนักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 สาขางานการท่องเที่ยว วิทยาลัยการอาชีพจอมทอง 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 สาขางานการท่องเที่ยว วิทยาลัยการอาชีพจอมทองจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องอาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 9 แผ่น ใช้เวลาเรียน 22 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนกับหลังเรียน จำนวน 40 ข้อ แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงานและแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามหน่วยการเรียนรู้เรื่องอาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้เรียนรู้โดยใช้หน่วยการจัดการเรียนรู้เรื่อง อาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 20.68 และหลังการเรียนเท่ากับ 34.23 นักศึกษามีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 34.23 นักศึกษามีความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเท่ากับ 13.55 คิดเป็นร้อยละเท่ากับ 33.88
2. ผู้เรียนที่เรียนรู้โดยใช้หน่วยการเรียนรู้เรื่อง อาหารพื้นบ้านล้านนา โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความพึงพอใจต่อการเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)