รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.ประดิษฐ ศิลาบุตร
2.ประกฤติ พูลพัฒน์
3.สิทธิชัย เอกอรมัยผล
4.กนกกานต์ วีระกุล
5.ดิเรก วรรณเศียร
6.สุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1. โภชนาการ
2.นักเรียนประถมศึกษา -- แง่โภชนาการ
3.นักเรียนประถมศึกษา -- อาหาร
4.อาหารกลางวัน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง การบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการ สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาองค์ประกอบและปัจจัยการบริหารงานด้านโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อพัฒนามาตรฐาน ตัวชี้วัด และเครื่องมือการประเมินผลบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3. เอศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานด้านวิชาการแบบบูรณาการในสถานศึกษา วิธีการศึกษา โดยการวิเคราะห์เอกสาร เพื่อหาองค์ประกอบและปัจจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อจัดทำเป็นร่างมาตรฐานและตัวชี้วัด มาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานด้านโภชนาการแบบบูรณาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสอบถามจากนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ทั่วประเทศในปีการศึกษา 2553 จำนวน 345 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการประเมินผล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามด้วยค่า IOC และตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค ผลการศึกษาพบว่า 1. องค์ประกอบและปัจจัยการบริหารงานด้านโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย องค์ประกอบด้านปัจจัย องค์ประกอบด้านการดำเนินงานและองค์ประกอบด้านผลผลิตและผลลัพธ์ซึ่งองค์ประกอบด้านปัจจัย ประกอบด้วยนโยบายการบริหารงานโภชนาการที่ชัดเจน และยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วม.อาหารและโภชนาการเด็กในสถานศึกษา องค์ประกอบด้านการดำเนินงาน ประกอบด้วย การดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ผู้บริหารสถานศึกษาผู้บริหารสถานศึกษาผลักดันการบูรณาการงานคน-งบประมาณเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมาย การส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร การนิเทศติดตาม ประเมินผลอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอองค์ประกอบด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ประกอบด้วย ผู้เรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง ผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เหมาะสมกับระดับชั้น ผู้เรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสถานศึกษามีผลงานที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นได้ 2. มาตรฐาน ตัวชี้วัด และเครื่องประเมินผลการบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 11 มาตรฐาน 58 ตัวชี้วัด จำแนกดังนี้ มาตรฐานด้านปัจจัย ประกอบด้วย 2 มาตรฐาน 9 ตัวชี้วัด คือ มาตรฐานที่ 1 มีนโยบายการบริหารงานโภชนาที่ชัดเจน จำนวน 5 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 2 มีแผนยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอาหารและโภชนาการเด็กในสถานศึกษา จำนวน 4 ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านการดำเนินงาน ปรกอบด้วย 4 มาตรฐาน 24 ตัวชี้วัด คือ มาตรฐานที่ 3 มีการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย จำนวน 6 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 4 ผู้บริหารสถานศึกษาผลักดันการบูรณาการคน-งบประมาณเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายจำนวน 5 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่5 การส่งเสริมความรู้ด้านโภชนาการและสุขาภิบาลอาหาร จำนวน 7 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 6 มีการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ จำนวน 6 ตัวชี้วัด มาตรฐานด้านผลผลิตและผลลัพธ์ จำนวน 5 มาตรฐาน 24 ตัวชี้วัด คือ มาตรฐานที่ 7 ผู้เรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง จำนวน 5 ตัวชี้วัด มาตรฐานผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี จำนวน 5 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 9 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เหมาะสมกับระดับชั้น จำนวน 5 ตัวชี้วัด มาตรฐานที่ 10ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จำนวน 7 ตัวชี้วัดมาตรฐานที่ 11 สถานศึกษามีผลงานที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นได้ จำนวน 5 ตัวชี้วัด เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นแบบสอบถามผลการดำเนินการโภชนาการแบบบูรณาการสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 58 ข้อ 3. การศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารงานโภชนาการแบบบูรณาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 11 มาตรฐาน 58 ตัวชี้วัด จากโรงเรียนกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศพบว่า ค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก มีมาตรฐานที่ปฏิบัติมากและมีค่าคะแนนอยู่ในระดับต้น 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่ 8 ผู้เรียนมีสุขภาพพลานามัยที่ดี มาตรฐานที่ 4 ผู้บริหารสถานศึกษาผลักดันการบูรณาการงาน-คน-งบประมาณเพื่อความสำเร็จตามเป้าหมายมาตรฐานที่7 ผู้เรียนได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่า มีประโยชน์ และมีพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้อง มาตรฐานที่ปฏิบัติมากแต่มีค่าคะแนนอยู่ในละดับท้าย 3 มาตรฐาน คือ มาตรฐานที่11 สถานศึกษามีผลงานที่สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน สถานศึกษาและหน่วยงานอื่นได้ มาตรฐานที่ 3 มีการดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และมาตรฐานที่ 2 มีแผนยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาอาหารและโภชนาการเด็กในสถานศึกษา
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 131 - 141
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)