รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ของโรงเรียนวัดพญาชมภู ตำบลชมภู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.ปริยาพร กองคำ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น
2.การจ่าต๋อง
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ จ่าต๋อง คือ กระบวนการในการทำให้ใบตองอ่อนแห้งโดยใช้เตาปูนและถุงทรายที่ร้อนจนทำให้ใบตองนั้นแห้งทั้งสองด้าน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับกระบวนการจ่าต๋องที่มีหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องอยู่ 2) เพื่อพัฒนารายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ของโรงเรียนวัดพญาชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และ 3) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนวัดพญาชมพู อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น แผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาคาเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ กระบวนการจ่าต๋อง พบหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องในด้านฟิสิกส์ คือ พลังงานความร้อน การถ่ายโอนความร้อน และแรงกดใบตอง ในด้านเคมี คือ การระเหย การเปลี่ยนสถานะของสาร ในด้านชีววิทยา คือ กล้วยและลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วย ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเรื่อง การจ่าต๋อง ได้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 5 แผน จำนวน 12 คาบ ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร พิฆเนศวร์สาร ฉบับวิถีชีวิตกับการพัฒนา
ปีที่ 9
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 21
ปีพิมพ์ 2556
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1686-7467
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)