รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การใช้กระบวนวิชาจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative Studies) หมวดวิชาศึกษาทั่วไปพัฒสนาคุณธรรมระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | จิตตปัญญาศึกษา |
2. | หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
3. | คุณธรรม |
4. | จริยธรรม |
5. | ค่านิยมอันพึงประสงค์ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ของวิชาจิตตปัญญาศึกษาพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ 6 ตัวบ่งชี้ ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาจิตตปัญญาศึกษาของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา GHUM 1101 จิตตปัญญา ภาคการศึกษาที่ 1/2554 กับผู้วิจัย จำนวน 249 คน เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย รายละเอียดของรายวิชาจิตตปัญญาศึกษา (มคอ.3) แบบสอบถามเพื่อประเมินระดับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตตปัญญาศึกษา กิจกรรม AAR : After Action Review ของกระบวนการวิชาจิตตปัญญาศึกษาและแบบประเมินการสอนของอาจารย์ ทางเว็ปไซต์ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ดำเนินการเก็บข้อมูลโดยให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ในชั่วโมงแรกของการเรียนวิชาจิตตปัญญาศึกษา จากนั้นจึงดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาจิตตปัญญาศึกษา ตามรายละเอียดของวิชาจิตตปัญญาศึกษา (มคอ.3) ให้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างเป็นเวลา 1 ภาคการศึกษา และทำกิจกรรม AAR : After Action Review ในชั่วโมงสุดท้ายของการเรียน จากนั้นจึงให้นักศึกษากลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเพื่อประเมินคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์อีกครั้ง เมื่อถึงช่วงเวลาสอบปลายภาคการศึกษา นักศึกษากลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตตปัญญาศึกษา และประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรายวิชาจิตตปัญญาศึกษาในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ตามลำดับ ผู้วิจัยได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยใช้สถิติพื้นฐานร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย X ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์หลังเรียนรายวิชาจิตตปัญญาศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตตปัญญาศึกษาอยู่ในระดับ A มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 35.34 รองลงมาเป็นระดับ B+ คิดเป็นร้อยละ 25.70 และนักศึกษาได้ระดับ D น้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 0.40 รวมทั้งมีความพึงพอใจในกระบวนการเรียนการสอนรายวิชาจิตตปัญญาศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (x = 4.72)
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)