รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดแล้วประเมิมผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครนครสวรรค์
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | รูปแบบการพัฒนา |
2. | การวัดและประเมินผล |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครสวรรค์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ที่ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) จำนวน 196 คน ประชากร คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการจำเป็น และแบบประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดผลและประเมินผล ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์ พบว่า สมรรถนะที่มีอยู่จริงต่ำกว่าจากสมรรถนะที่ควรจะมีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อ มีความต้องการพัฒนาสมรรถนะทุกด้าน
2. รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์ที่เหมาะสมประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผล การปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผล และผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและการประเมินผล
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์ของผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะดานการวัดและประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 สำหรับครูในสังกัดเทศบาลนครสวรรค์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด และมีประสิทธิภาพด้านความถูกต้องและชัดเจน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)