หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียนภาษาไทยในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.
เกตุมณี มากมี
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
จัดการศึกษา
2.
การศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่
3.
การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา
4.
การอ่านภาษาไทย
5.
การเขียนภาษาไทย
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย ในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาและศึกษาแบบแผนในการพัฒนาทักษะในด้านการอ่านและเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ในโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนแกนนำในการจัดการศึกษารูปแบบการเรียนร่วม ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-5 และโรงเรียนแกนนำในสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2552 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนแกนนำในการจัดการศึกษารูปแบบเรียนร่วมในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 1-5 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 17 โรงเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2552 จำนวน 9 โรงเรียน แผนแบบการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบหนึ่งกลุ่มก่อนและหลัง ( The One Group Pre-test/Post-test Design) เครื่องมือที่ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย สำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเฉพาะบุคคล (Individualized Leaning Plan หรือ IPL) ด้านการอ่านและเขียน และแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สรุปผลการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษที่มีปัญหาด้านการอ่านและเขียนภาษาไทย ด้านประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่เกี่ยวกับการฝึกทักษะการอ่านและเขียน พบว่า มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 คือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 1,2 และ 3 ส่วนเขตพื้นที่การศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์ได้ ได้แก่ เขต 4 และ เขต 5 และผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองทุกโครงการ แบบแผนในการพัฒนาทักษะการสอนอ่านและเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ ของชุดโครงการสรุปได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนแบบมีส่วนร่วม ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองนวัตกรรมกับกลุ่มเป้าหมายและการสรุปผล สำหรับองค์ความรู้ในพัฒนาทักษะการสอนอ่านและเขียนสำหรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบการเรียนร่วม ของโรงเรียนที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้ ด้านการวางแผนการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษในรูปแบบการเรียนร่วม จะต้องมีการวิเคราะห์ผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และพัฒนานวัตกรรมที่เหมาะสมกับลักษณะของนักเรียนเป็นรายบุคคล และดำเนินการพัฒนานักเรียนให้มีประสิทธิภาพในลักษณะเครือข่ายระหว่างนักวิชาการและครูผู้สอน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
พิฆเนศวร์สาร ฉบับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมศึกษา
ปีที่
8
ฉบับที่
2
หน้าที่
11-22
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1686-7467
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)