รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียน ระดับประถมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่องรอง An Integrated Curriculum Development of Work-Oriented Subject and Technology to Enhance Moral Behaviors of Prathomsuksa II Students.*
ชื่อผู้แต่ง
1.พอเจตน์ ธรรมศิริขวัญ
2.ปริญญา ทองสอน
3.ประชา อินัง
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.กลุ่มการงานและพื้นฐานอาชีพ -- หลักสูตร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พฤติกรรมเชิงจริยธรรม และเจตคติเชิงจริยธรรมกลุ่มตวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนดาราสมุทร ศรีราชา ชลบุรี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multistage Random Sampling) แบ่งเป็น 2 ขั้น คือ 1) การสุ่มเป็นกลุ่ม (Cluster Sampling) นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 ห้องเรียน สุ่มมา 2 ห้องเรียน 2) การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) จับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน และเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบสังเกตพฤติกรรมเชิงจริยธรรม และแบบวัดเจตคติเชิงจริยธรรม ใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) แบบ Randomized Control, Pre-test-Post-test Control, Group Design วิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน และทดสอบค่า t- test แบบ Dependent Samples, Independent Samples และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ANOVA และ ANCOVA ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 2 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก หลักสูตรมีองค์ประกอบครบถ้วน และมีความสอดคล้องแนวทางการพัฒนาจริยธรรมของนักเรียน และผลการเปรียบเทียบด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านพฤติกรรมเชิงจริยธรรมหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านเจตคติเชิงจริยธรรมหลังการทดลอง พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่นโดยรวมสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม
ปีที่ 5
ฉบับที่ 1 - 2
หน้าที่ 117 - 130
ปีพิมพ์ 2552
ชื่อสำนักพิมพ์ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการศึกษาและการพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-2693
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)