รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.อาภรณ์ ตรีประเคน
2.ไสว สดใส
3.จำเริญ อุ่นแก้ว
4.ประดิษฐ์ ศิลาบุตร
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.บุคลากรทางการศึกษา -- บทบาทและหน้าที่
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศรีสะเกษ เขต 1 ของโรงเรียนที่ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากภายนอก ที่ผ่านการประเมิน และที่ไม่ผ่านการประเมิน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผิอำนวยการโรงเรียน กรรการที่เป็นผู้แทนครูและกรรมการที่เป็นผู้แทนกลุ่มตางๆ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 1 จำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสภาพการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามกรอบการบริหารงาน 4 ด้าน คือด้านวิชาการท ด้านแผนและงบประมาณ ด้านบุคคล และด้านการบริหารงานทั่วไปสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบค่าไคสแควร์ เพื่อทดสอบความแตกต่างของตัวแปร ผลหารวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติงานด้านวิชาการ โรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุด ให้ความเห็นชอบและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนเข้าไปมีส่วนร่วมในการวิจัยในชั้นเรียน และสนับสนุนการจัดกระบวน เรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุด คือ ให้การสนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพภายในโรงเรียน และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างโรงเรียนที่มีผลการประกันคุณภาพต่างกัน ต่อสภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านวิชาการเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. สภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านแผนและงบประมาณ โรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ ร่วมศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาเพื่อวางแผนพัฒนาโรงเรียน และปฏิบัติน้อยที่สุด คือ กำกับ ดูแล ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณ ส่วนโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ สนับสนุนและจัดหาทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่ด้อยโอกาส ขาดแคลนและเรียนดี และปฏิบัติน้อยที่สุดคือ ให้ความเห็นชอบในการจัดสรรงบประมาณตามโครงการ และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างโรงเรียน ที่มีผลการประเมินคุณภาพต่างกัน ต่อสภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านงานแผนและงบประมาณเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. สภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านบุคคล โรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ สนับสนุนพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากร และปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครู ส่วนโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ การให้การสนับสนุนครูในการพัฒนาตนเอง และปฏิบัติน้อยที่สุดคือ มีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกครูและบุคลากร และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างโรงเรียน ที่มีผลการประเมินคุณภาพต่างกัน ต่อสภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านงานแผนและงบประมาณเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. สภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านการบริหารงานทั่วไป โรงเรียนที่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ เข้าร่วมกิจกรรมโรงเรียนสม่ำเสมอ และร่วมดำเนินการตามนโยบายจากหน่วยงานต้นสังกัดของโรงเรียน และปฏิบัติน้อยที่สุด คือ ร่วมวางแผนการใช้สถานที่ของโรงเรียน ส่วนโรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ ปฏิบัติมากที่สุดคือ ร่วมจัดภูมิทัศน์ในโรงเรียนให้น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน และปฏิบัติน้อยที่สุดคือ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ และเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างโรงเรียน ที่มีผลการประเมินคุณภาพต่างกัน ต่อสภาพการปฏิบัติหน้าที่ด้านงานแผนและงบประมาณเป็นรายข้อ พบว่า ส่วนใหญ่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 83 - 93
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)