รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฏร์ธานี
ชื่อเรื่องรอง Parents' Opinions on Learning and Teaching Management for Childhood of Takhun School. Bantakhun, Suratthani.
ชื่อผู้แต่ง
1.กรีรัตน์ อุปลา
2.ธำรง อุดมไพจิตรกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การศึกษาขั้นประถม
2.การศึกษาขั้นประถม -- การจัดการ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยเรื่อง ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบและรวบรวมข้อเสนอแนะทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน อำเภอบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำแนกตามภูมิหลังของผู้ปกครอง ประกอบด้วย เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และความถี่ในการร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน โดยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนตาขุน จำนวน 104 คน การเก็บรบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .943 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการวิจัย พบว่า ภูมิหลังของผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 62 คน คิดเป็นร้อยละ 59.62 อายุระหว่าง31-40ปี จำนวน47 คน คิดเป็นร้อยละ 42.20 อาชีพเกษตรกร/ประมง จำนวน37คน คิดเป็นร้อยละ 35.58 การศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 39 คน คิดเป็นร้อยละ 37.50 ความถี่ในการร่วมกิจกรรมกับโรงเรียน 4-6 ครั้งต่อปีการศึกษาจำนวน45คน คิดเป็นร้อยละ 43.27 ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุนโดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับเห็นด้วยมากทุกด้านโดยเห็นด้วยมากด้านบุคลากรเป็นลำดับหนึ่ง รองลงมาคือ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านวิชาการ และด้านสื่อการเรียนการสอน ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ทรรศนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ปกครองที่มีความถี่ในการร่วมกิจกรรมกับโรงเรียนแตกต่างกัน มีทรรศนะต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านบุคลากร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และข้อเสนอแนะของผู้ปกครองต่อการจัดการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยของโรงเรียนตาขุน ในด้านวิชาการ ลำดับแรกคือ การเน้นในเรื่องการพูดจาที่ไพเราะ มีมารยาท ด้านบุคลากร ลำดับแรกคือ ในแต่ละห้องควรมรครูห้องละ 2 คน ด้านสิ่งแวดล้อมลำดับแรกคือ ต้องการห้องน้ำที่สะอาด ด้านสื่อการเรียนการสอน ลำดับแรกคือ มีเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสอน เช่น คอมพิวเตอร์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร ปาริชาต
ปีที่ 22
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 35 - 42
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0867-0884
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)