รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
บทบาทหน้าที่ ปัญหา และความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
|
ชื่อเรื่องรอง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สำราญ ทองมนต์ |
2. | ไสว สดใส |
3. | จำเริญ อุ่นแก้ว |
4. | ประดิษฐ ศิลาบุตร |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | โรงเรียน -- การบริหาร |
2. | การบริหารแบบมีส่วนร่วม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ปัญหาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ3) ความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้ทรงคุณวุฒิ จากตัวแทนองค์กรต่างๆ รวม 685 คน โดยวิธีสุ่มอย่างง่าย และสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า
1. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าการปฏิบัติมากที่สุดได้แก่ “รับทราบและเข้าใจในบทบาทหน้าที่การเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานด้วยความสมัครใจ” “ให้ความเห็นและคำปรึกษา ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน และสร้างความสัมพันธ์กับสถานบันอื่นๆในชุมชนท้องถิ่น ” และ “ให้ความเห็นและข้อเสนอแนะ ส่งเสริมสนับสนุนในการจัดการจัดแหล่งเรียนรู้เพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง” และการปฏิบัติน้อย ได้แก่ “ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงวิธีการทำงาน บทบาท เสียสละเวลา อุทิศตน ทรัพย์สิน และกำลังกายเพื่อพัฒนางานพัฒนางานการศึกษาของสถานศึกษาให้มีคุณภาพ ” และ “ให้ความเห็นในการออกระเบียบข้อบังคับ ประกาศ และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับ การเงินการจัดหารายได้จากทรัพย์สินทางสถานศึกษา”
2. ปัญหาการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่ “ผู้ปกครองอพยพเข้าใหญ่เพื่อขายแรงงาน ทิ้งให้บุตรหลานในวัยเรียนอยู่เบื้องหลังกับคนแก่ชรา เป็นปัญหาต่อคณะกรรมการสถานศึกษาในการวางแผนจัดการพัฒนาการศึกษา” “ส่วนใหญ่ไม่เข้าใจหลักสูตรแกนกลาง หลักสูตรสถานศึกษา และโครงสร้างหลักสูตร ทำให้ร่วมกันวางแผนพัฒนาการศึกษาได้ยาก” และ “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยมาตรฐานการโทษนักเรียนด้วยวิธีหยุดเฆี่ยนตี ทำให้เป็นปัญหาต่อการวางแผนควบคุมความประพฤติของนักเรียนได้ยาก ” และการปฏิบัติน้อย ได้แก่ “ไม่สร้างงานการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ เพราะขาดวัฒนธรรมที่ดี และเป็นรูปธรรมขององค์คณะ” “การพัฒนางานด้านการศึกษาไม่ก้าวหน้า เพราะคณะกรรมการสถานศึกษาไม่ปรับปรุงวิธีการทำงานและไม่ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลง” และ “ไม่ร่วมแรง ร่วมใจหรือร่วมมือ ละเลยต่อบทบาทหน้าที่การศึกษาอย่างต่อเนื่อง เพราะขาดแรงจูงใจ”
3. ความต้องการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่า การปฏิบัติมากที่สุดได้แก่ “ดำเนินโครงการครูและบุคลากรทางการศึกษา เยี่ยมบ้านนักเรียนและพบปะผู้ปกครอง ” “ให้สถานศึกษานำหลักสูตร หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักการของในหลวงมาใช้สอนนักเรียน” และให้หน่วยงานของรัฐจัดสวัสดิการ ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งให้แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามวาระ และการปฏิบัติน้อยได้แก่ “สร้างเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนกรณีพิเศษของครูและบุคลากรทางการศึกษา” “การสอนแบบท่องจำประเภทต่างๆยังมีความจำเป็น ต่อการเรียนการสอนอยู่อีกมาก” และ “ให้ข้อเสนอแนะ กำหนดทิศทางและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา”
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)