รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การสร้างแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2*
ชื่อเรื่องรอง Construction of Awareness Scales Based on Sufficienty Economy Views for Grade Range II Students
ชื่อผู้แต่ง
1.ศุภมาส ไทยถาวร
2.พรทิพย์ ไชยโส
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.เศรษฐกิจพอเพียง -- การศึกษาและการสอน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะคือ 1) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดในประเด็นของความตรงทฤษฎี อำนาจจำแนกและความเที่ยงของแบบวัด 2) เพื่อกำหนดเกณฑ์สำหรับการแปลความหมายคะแนนจากแบบวัด และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัดที่สร้างขึ้น วิธีการสร้างแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 มีขั้นตอนดังนี้ 1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แล้วศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเดียงและการวัดความตระหนักเพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบของผู้ที่มีความตระหนักในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาแบบวัดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเป็นแนวทางในการสร้างแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตนตามหลักหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) กำหนดนิยามสร้างข้อคำถามตามกรอบแนวคิดที่กำหนดและรวบรวมข้อคำถามเข้าเป็นชุดแบบวัด 3) ตรวจสอบความตรงตามทฤษฎีโดยให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเลือกข้อคำถาม พิจารณาเกณฑ์การให้คะแนนและเกณฑ์การแปลความหมายคะแนนที่กำหนด จัดแบบวัดเป็นชุด 4) นำไปทำลองให้เพื่อหาค่าอำนาจจำแนกรายข้อ คัดเลือกและปรับปรุงข้อคำถาม ตรวจสอบความตรงตามทฤษฎีด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของคะแนนรวมในแต่ละองค์ประกอบกับคะแนนรวมทั้ง ฉบับ ตรวจสอบความตรงตามสภาพด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบประเมินของครูประจำชั้นกับคะแนนที่ได้จากการตอบแบบของนักเรียน หาความเที่ยง พร้อมทั้งเขียนคู่มือการใช้แบบวัด ผลการวิจัยสรุปว่า 1) แบบวัดที่สร้างขึ้นมีความตรงตามทฤษฎีโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าคะแนนรวมในแต่ละองค์ประกอบกับคะแนนรวมทั้งฉบับอยู่ระหว่า 0.08-0.82 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีความตรงตามสภาพโดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคะแนนที่ได้จากแบบประมินของครูกับคะแนนที่ได้จากการตอบแบบวัดของนักเรียนเป็น 0.73 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่า 0.21-0.93 และมีความเที่ยงทั้งฉบับเป็น 0.92 2) เกณฑ์การแปลความหมายคะแนนจากแบบวัดความตระหนักในการปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 สามารถแปลระดับความตระหนักในรายองค์ประกอบและภาพรวมได้ตรงตมวัตถุประสงค์ของเครื่องมือที่ได้กำหนดไว้ และ 3) คู่มือการใช้แบบวัดที่จัดทำขึ้นมีความเป็นปรนัย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่ 25
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 33 - 45
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6203
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)