รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการสอนการแก้ปัญหาและการตั้นปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู
ชื่อเรื่องรอง The Development of a Model to Enhance Teaching Ability on Mathematical Problem Solving and Problem Posing for Preservice Teachers
ชื่อผู้แต่ง
1.ทรงชัย อักษรคิด
2.ปิยวดี วงษ์ใหญ่
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างความสารถทางการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์หำหรับนักศึกษาครู และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบจากการนำรูปแบบไปทดลองให้ใช้กับนักศึกษาครูในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ความสามารถในการวางแผนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการปฏิบัติการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ การดำเนินการวิจัยมี 5 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจสภาพปัญหาและการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างรูปแบบ 3)การสร้างเครื่องมือคามรูปแบบที่กำหนด 4)การทดลองให้และการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ และ 5) การประเมินผลลัพธ์และการปรับปรุงรูปแบบ รูปแบบที่สร้างขึ้นประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรม 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนปฏิบัติการสอน โดยใช้กิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักศึกษาครู (10 กิจกรรม ใช้ระยะเวลารวม 30 ชั่วโมง) และระยะที่ 2 การทดลองสอนการแก้ปัญหาลการตั้งปัญหาภาคสนาม โดยใช้วิธีการศึกษาผ่านบทเรียน (ใช้ระยะเวลา 3 เดือน) รูปแบบในระยะที่ 1 ดำเนินการทดองกับนักศึกษาครูที่อาสาสมัครจำนวน 12 คน ซึ่งเป็น นักศึกษาครูคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรี หลักสูตรศึกษาศาสตร์บัณฑิต (ศษ.บ) ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีกำลังฝึกประสอบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์ (การปฏิบัติการสอน) ออยู่ในโรงเรียน ในปีการศึกษา 2552 เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบในด้านความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ รูปแบบในระยะที่ 2 ใช้นักศึกษาครู 4 คนที่ผ่านกิจจมในระยะที่ 1เป็นนักศึกษาครูที่ฝึกสอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนเดียวกันในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 2 ห้องเรียน นักเรียนทั้งหมด 80 คน ของโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ในภาคปลายปีการศึกษา 2552 กิจกรรมเป็นไปตรากระบวนการของการศึกษาผ่านบทเรียน เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบในด้านความสามารถในการวางแผนและปฏิบัติการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ ทั้งนี้การวิจัยมีการเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยข้อมูลเชิงปริมาณในระยะที่ 1 ได้จากคะแนนเก็บระหว่าการปฏิบัติกิจกรรมจากใบกิจกรรมและคะแนนได้จากแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ในระยะที่ 2 ได้จากการทำแบบประเมินความสามารถในการวางแฟนและปฏิบัติการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 ได้จากการสังเกตและนำผลจากการปฏิบัติกิจกรรมมาดูร่องรอยพฤติกรรมการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู ในระยะที่ 2 ได้จากการสังเกตพฤติกรรมการสอนในชั้นเรียน แผนการสอน และวีดิทัศน์บันทึกการสอนมาดูร่อยรอยพฤติกรรมการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาครู ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้เสริมสร้างความสามารถทางการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ให้กับนักศึกษาครูได้โดย 1. นักศึกษาครู 9 คน จาก 12 คน ผ่านเกณฑ์ความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ (อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 1 คน และระดับมาก 8 คน) 2. นักศึกษาครู 7 คน จาก 12 คน ผ่านเกณฑ์ความสามารถในการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ (ทั้ง 7 คนอยู่ในระดับมาก) 3. นักศึกษาครูทั้งสี่คนผ่านเกณฑ์ความสามารถในการวางแฟนการสอนที่เน้นการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ (อยู่ในระดับยอดเยี่ยม) 4. นักศึกษาครู 3 คนจาก 4 คน ผ่านเกณฑ์ความสามารถในการปฏิบัติการสอนการแก้ปัญหาและการตั้งปัญหาทางคณิตศาสตร์ (อยู่ในระดับยอดเยี่ยม 1 คน และระดับมาก 2 คน ทั้งนี้นักศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์ 1 คนนั้น พบว่า โดยภาพร่วมมีความสามารถอยู่ในระดับมากแต่มีบางตัวชี้วัดที่ ไม่ผ่านเกณฑ์)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์
ปีที่ 25
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 17 - 31
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-6203
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)