ชื่อเรื่อง |
การศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม
|
ชื่อเรื่องรอง |
A STUDY THE IMPLEMENTATION OF LEATNING RESOURCE CENTERS AND LOCAL WISDOM IN THE MANADEMENT OF INSTRUCTIONAL ACTIVITIES IN SAMUT SONGKHRAM
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | เปรมฤดี ปุโรทกานนท์ |
2. | สุวรรณา โชติสุกานต์ |
3. | ภิเษก จันทร์เอี่ยม |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
1. | ภูมิปัญญาท้องถิ่น |
2. | กิจกรรมการเรียนการสอน |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม และเพื่อเปรียบเทียบการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงครามตามประเภทของโรงเรียน และประสบการณ์การทำงาน
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 1,326 คน จาก 85 โรงเรียน
ในการวิจัยครั้งนี้คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากตารางประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ของ เครจซี และมอร์เกน (อ้างถึงใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2545) ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 307 คน
ผลการวิจัยพบว่า
การปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้่ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า มีการศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ค่าเฉลี่ยมากสุด รองลงมาคือจัดทำแผนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ ด้านจัดทำข้อมูลสารสรเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ รายงานผลสรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ
การเปรียบเที่ยบกระบวนการการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียรการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประเภทของโรงเรียน พบว่าประเภทโรงเรียนต่างกันมีการปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ต่างกัน
การเปรียบเทียบการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกกรมการเรียนการสอนของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงคราม ตามประสบการณ์การทำงาน ในภาพรวม พบว่าประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีการปฏิบัติการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ไม่ต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านศึกษาหลักสูตร และสาระการเรียนรู้ ด้านจัดทำข้อมูลสารสนเทศแหล่งเรียนรู้ ภูมิปํญญาท้องถิ่น ด้านจัดทำแผนการเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ให้สอดคล้อง กับจุดประสงค์ ด้านการทำการวัดผล ประเมินผล และด้านรายงานผล สรุปผลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ทราบ มีการนำแหล่งเรียนรู้ และภูมิปํญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ของโรงเรียนในจังหวัดสมุทรสงครามต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านขอความร่วมมือกับชุมชนและวิทยากรท้องถิ่น และด้านเชิญวิทยากรท้องถิ่นมาถ่ายทอดความรู้ หรือนำนักเรียนไปยัง แหล่งเรียนรู้
|