หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกาาประถมศึกษาตาก เขต 1
ชื่อเรื่องรอง
THE DEVELOPMENT OF STANDARD INDICATORS ON ENVIRONMENTAL EDUCATION FOR SCHOOL UNDER TAK PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ชื่อผู้แต่ง
1.
ไพศาล ปันแดน
2.
วินัย วีระวัฒนานนท์
3.
รวีวรรณ สนั่นวรเกียรติ
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
เกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษา
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จำนวน 350 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยใช้ตารางสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ การหาค่าความสอดคล้อง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงโครงสร้างหรือโมเดลลิสเรล ผลการวิจัยพบว่า (1) เกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 มีจำนวน 6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย 60 ตัวชี้วัด ได้แก่ องค์ประกอบหลักที่ 1 มาตรฐานการบริหารจัดการ มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 2 มาตฐานด้านการจัดการเรียนรู้ มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 3 มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 4 มาตรฐานด้านการจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด องค์ประกอบหลักที่ 5 มาตรฐานด้านการมีส่วนร่วมกับชุมชน มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบหลักที่ 6 มาตรฐานด้านการวัดและประเมินผล มีองค์ประกอบย่อย 2 มาตรฐาน 10 ตัวชี้วัด (2) โมเกลเกณฑ์มาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1 จากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 1 ขององค์ประกอบและตัวชี้วัด มี 6 องค์ประกอบหลัก 12 องค์ประกอบย่อย ทุกองค์ประกอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าความน่าเชื่อถือได้ของการวัดอยู่ในระดับสูง ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดล มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับ 2 ขององค์ประกอบหลัก 1 โมเดล มีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่
7
ฉบับที่
1
หน้าที่
99 - 110
ปีพิมพ์
2556
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1905-9647
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)