รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัชมังคลาภิเษก
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.จันทร์ทิพย์ เจียมพงษ์
2.ไสว สดใส
3.จำเริญ อุ่นแก้ว
4.สุรศักดิ์ ศรีกระจ่าง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
หัวเรื่องควบคุม
1.การเรียนรู้ -- วิจัย
2.การปฏิรูปการเรียนรู้ -- ไทย -- วิจัย
3.เศรษฐกิจพอเพียง
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัชมังคลาภิเษก จำแนกตามขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้บริหารโรงเรียน และครู จำนวนทั้งสิ้น 327 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประเภทปลายปิด สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติมาก คือ วางแผน การจัดกิจกรรมการดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงาน คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ และผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ ชุมชนร่วมวางแผนจัดกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ 2. ทรัพยากรมนุษย์ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติมาก คือ มีบุคลากรร่วม ดำเนินโครงการ และแต่งตั้งคณะทำงาน คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ และผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ จัดที่ปรึกษาโครงการที่มีความรู้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ 3. ทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติมาก คือ มีพื้นที่เหมาะสมกับจำนวนนักเรียนที่เขาร่วมโครงการ และผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ ได้รับการสนับสนุนพันธุ์พืช พันธิ์สัตว์ จากหน่วยงานอื่น 4. ทรัพยากรการเงิน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติมาก คือ มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินโครงการและผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ รายงาน ตรวจสอบงบประมาณการใช้จ่ายในการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ 5. ทรัพยากรสารสนเทศ พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติปานกลาง คือ ใช้ทรัพยากรหรือสิ่งที่มีอยู่อย่างยั่งยืนเพ่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นนโยบายและความรับผิดชอบของภาครัฐ ประชาชนเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบายเท่านั้น 6. การมีส่วนร่วมของชุมชน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพในการปฏิบัติปานกลาง คือ ประสานงานโครงการระหว่างโรงเรียนกับชุมชน และผู้บริหารโรงเรียนมีสภาพการปฏิบัติน้อย คือ ชุมชนร่วมดำเนินงานโครงการ 7. เปรียบเทียบสภาพการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนรัชมังคลาภิเษกจำแนกตามขนาดของโรงเรียนเป็นขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยวิธีไคสแควร์ (Chi-Square) พบว่า การบริหารจัดการมีการจัดให้บุคลากรร่วมวางแผนกิจกรรมดำเนินงานโครงการ จัดสรรงบประมาณประชาสัมพันธ์โครงการและจัดสรุปรายงานผลการดำเนินกิจกรรมดำเนินงานโครงการ ทุดภาคเรียน ทรัพยากรกายภาพ คุณภาพของดินมีความเหมาะสมในการดำเนินงานโครงการ ทรัพยากรการเงิน มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการแสวงหาเงินทุนสนับสนุนจากแหล่งอื่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น รายงานการตรวจสอบงบประมาณการใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการอย่างสม่ำเสมอและจัดตั้งกิจกรรมสหกรณ์ในโรงเรียน และจัดจำหน่ายผลผลิต ทรัพยากรสารสนเทศใช้ทรัพยากรหรือสิ่งที่มีเท่าที่มีอยู่อย่างยั่งยืนเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ราคาประหยัดและมีคุณภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ส่วนรวมได้ประโยชน์ เราจะต้องได้รับประโยชน์สูงสุดเสมอ และการมีส่วนร่วมของชุมชนมีการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการให้ผู้ปกครองทราบ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนทรัพยากรมนุษย์พบว่า ทุกข้อไม่มีความต่างกัน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 36 - 50
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)