หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบรหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
ชื่อเรื่องรอง
THE DEVELOPMENT OF RELATIONSHIP CAUSAL MODEL OF FACTORS AFFECTING ADMINISTRETION IN WORLDCLASS STANDARD SCHOOLS
ชื่อผู้แต่ง
1.
รังสรรค์ นกสกุล
2.
บุญเรือง ศรีเหรัญ
3.
จุไร โชคประสิทธิ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบ
2.
การบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล 3) เพื่อวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างในการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล และนำเสนอรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล จากการวิเคราะห์เอกสารและแนวคิด ทฤษฏีต่างๆที่เกี่ยวข้อง และพัฒนารูปแบบการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล โดยการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group) ได้พัฒนาขึ้นเป็นโมเดลลิสเรล โดยใช้ตัวแปรแฝง 5 ตัว ได้รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล แบ่งเป็นตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัว ได้แก่ ธรรมาภิบาล และองค์กรแห่งการเรียนรู้ และตัวแปรแฝงภายใน3ตัว ได้แก่ การบริหารงานระบบคุณภาพ การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล และด้านการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็นผู้บริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลจำนวน 1,000 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ การสุมตัวอย่าง แบบบุ๊คเลค การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และใช้โปรแกรมลิสเรล Version 8.80 เพื่อการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุ (Causal Model) และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบตามทฤษฏีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของการบริหารงานด้าน การจัดการเรียนการสอนเทียบเคียงมาตรฐานสากล การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ธรรมาภิบาล และการบริหารระบบคุณภาพ มีการปฏิบัติมาก เรียงไปตามลำดับ 2) ตัวแปรสังเกตได้ทุกปัจจัย มีการปฏิบัติสูงกว่าค่าเฉลี่ย และการแจกแจงของตัวแปรมีลักษณะเป็นโค้งแนวราบกว่าปกติ 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ที่ได้ศึกษา จำนวน 36 ตัวแปร พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้งหมด 623 คู่ มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 404 คู่ มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 46 คู่ และมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติจำนวน 173 คู่ โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเป็นความสัมพันธ์ทางบวกจำนวน 392 คู่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่มีค่าเป็นบวกนั้นแสดงถึงความสัมพันธ์ที่มีทิศทางไปในทางเดียวกัน ความสัมพันธ์ทางลบจำนวน 231 คู่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่มีค่าเป็นลบนั้น แสดงถึงความสัมพันธ์ที่มีทิศทางไปในทางตรงข้ามกัน ในเมทริกซ์มีขนาดของความสัมพันธ์ทางบวก ตั้งแต่ 0.004 ถึง 1.00 และมีขนดของความสัมพันธ์ทางลบ ตั้งแต่ -0.001 ถึง -1.33 ความสัมพันธ์ส่วนใหญ่มีนัยทางสถิติ ขนาดของความสัมพันธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง (0.3 น้อยกว่า r น้อยกว่า 0.66) 4) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นโมเดลเชิงสาเหตุของการพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากลเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค-สแควร์= 1268.36,องศาความเป็นอิสระ = 508 ,ค่า p = 0.051, GFI = 0.97,AGFI = 0.98, RMSEA = 0.049 และ CN 310.37) ค่าพารามิเตอร์เมทริกซ์อิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างตัวแปรแฝงภายในมีความแปรเปลี่ยนโดยตรงกับการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่
6
ฉบับที่
1
หน้าที่
61 - 76
ปีพิมพ์
2555
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1905-9647
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)