รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในเครือข่าวสหวิทยาเขตอนุบาลจังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.อุดมพันธุ์ พิชญ์ประเสริฐ
2.ประดิษฐ์ ศิลาบุตร
3.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.การบริหารงานวิชาการ
หัวเรื่องควบคุม
1.โรงเรียน -- การบริหาร -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการบริหารงานวิชาการของวิชาการของโรงเรียนในเครือข่ายสหวิทยาเขตอนุบาลจังหวัดศรีสะเกษและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยมาเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารจำนวน 23 คน หัวหน้าฝ่ายวิชาการ จำนวน 23 คน และครูผู้สอนจำนวน 248 คน จาก 23 โรงเรียน ในปีการศึกษา 2553 การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีสุ่มอย่าง โดยใช้ตามรางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า จำนวน 60 ข้อ ซึ่งครอบคลุมขอบข่ายงาน 12 ด้าน มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อสภาพการบริหารงานโดยการทดสอบค่าทีและค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ 4.41 ได้แก่ ด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2. ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน ที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาความแตกต่างค่าเฉลี่ยรายคู่ พบว่าสภาพการบริหารงานวิชาการ โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามสภาพตำแหน่ง ระหว่างครุผู้สอนกับหัวหน้าวิชาการ ระหว่างครูผู้สอนกับผู้บริหาร และระหว่างหัวหน้าฝ่ายวิชาการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 3. ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน ที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน ที่ระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 5. ผู้บริหาร หัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 6. ผลสัมภาษณ์ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 10 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไป มีความความคิดเห็นสรุปได้ว่า การเข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายสหวิทยาเขตอนุบาลจังหวัดศรีสะเกษ ทำให้การบริหารงานวิชาการเปลี่ยนไปจากเดิม ส่วนใหญ่ว่ามาก ผลดีคือทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาวิชาการ การพัฒนาครูและบุคลากร รวมทั้งการพัฒนานักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นนักเรียนและผู้ปกครองพึงพอใจในกิจกรรมที่เครือข่ายดำเนินการและให้การสนับสนุนและอยากให้ขยายเครือข่ายมากขึ้น
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ปีที่ 5
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 20 - 35
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ สำนักงานบัณฑิตศึกษา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0327
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)