หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อเรื่องรอง
DEVELOPMENT OF ACTIVITY PACKAGES ON LIFE UNIT AND PLANTS SCIENCE SUBJECT MATTER FOR MATHAYOMSUKSA 1
ชื่อผู้แต่ง
1.
ชรินรัตน์ จิตตสุโภ
2.
เนติ เฉลยวาเรศ
3.
ศรินทิพย์ ภู่สำลี
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
การจัดการเรียนการสอนโดยชุดกิจกรรม
2.
การพัฒนาชุดกิจกรรม
3.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
หัวเรื่องควบคุม
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับนักเรียนที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ 5) เปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กับนักเรียนที่ได้การจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนไผ่วงวิทยา อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม 3)แผนการจักการเรียนรู้แบบปกติ 4)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.792 และ 5) แบบจิตวิทยาศาสตร์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.901 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1.ผลการสร้างและการพัฒนาชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เมื่อนำไปหาประสิทธิภาพรวมเฉลี่ย E_1/E_2 เท่ากับ 86.22/81.25 2.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. .ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติพบว่าหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจักการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม เรื่อง หน่วยสิ่งมีชีวิตละชีวิตพืช กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5.ผลการเปรียบเทียบจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรมสูงกว่าการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่
5
ฉบับที่
3
หน้าที่
67 - 74
ปีพิมพ์
2554
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1905-9647
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)