รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้ พลศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก
ชื่อเรื่องรอง STATES AND PROBLEMS ON THE IMPLEMENTATION OF BASIC EDUCATION CURRICULUM IN B.E. 2544 AMONG TEACHERS TEACHING PHYSICAL EDUCATION UNDER THE OFFICE OF THE NAKHON NAYOK EDUCATION SERVICE AREA
ชื่อผู้แต่ง
1.นครินทร์ เวียงจันทร์
2.สุรางค์ เมรานนท์
3.อุษา คงทอง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ปัจจัยในการเลือกซื้อเครื่องจักรสีข้าว
2.โรงสีข้าวในเขตภาคกลางของประเทศไทย
หัวเรื่องควบคุม
1.พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน
2.พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน -- คู่มือ
3.พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน -- หลักสูตร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตาการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้พลศึกษาให้สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก และเปรียบเทียบตามขนาด ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มนการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สาระการเรียนรู้พลศึกษา ของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2552 ประกอบด้วย 3 ตอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ ค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้พลศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก 1.1 ความคิดเห็นของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้พลศึกษาที่มีต่อสภาพการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้พลศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก โดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดอาคารสถานที่ และแหล่งวิทยาการเพื่อส่งเสริมการนำหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การประเมินด้านการบริหารและบริการหลักสูตร และด้านที่ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือการประเมินผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักสูตร 1.2 ระดับปัญหาที่มีต่อการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนพลศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การใช้เอกสารและคู่มือประกอบหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยที่สูงที่สุดระดับปัญหาที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือการบริการสื่อและวัสดุอุปกรณ์ 2. การเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นที่มีต่อสภาพและปัญหาการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ของครูผู้สอนสาระการเรียนรู้พลศึกษาใจสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนขนาดเล็กมีการ ใช้หลักสูตร โดยรวมไม่แตกต่างกับโรงเรียนขนาดใหญ่
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่ 4
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 67 - 76
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9647
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)