หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
ความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว
ชื่อเรื่องรอง
SUPERVISION NEEDS OF TEACHERS UNDER THE JURISDICTION OF THE OFFICE OF SAKAEO EDUCATIONAL SERVICE AREA
ชื่อผู้แต่ง
1.
กฤษฎา สิงขรรักษ์
2.
ภิเษก จันทร์เอี่ยม
3.
อรสา โกศลานันทกุล
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
ความต้องการในการรับการนิเทศของครู
2.
การบริหารวิชาการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว
หัวเรื่องควบคุม
1.
การนิเทศการศึกษา -- วิจัย
2.
ครู -- การพัฒนาบุคลากร
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว ของ เบ็น เอ็ม แฮร์ริส ตามประสบการณ์ทำงานและเขตพื้นที่การศึกษาจำนวน 10 ด้าน คือ 1. การนิเทศเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 2. งานนิเทศเกี่ยวกับหลักสูตร 3. การนิเทศเกี่ยวกับการเลือกสรรบุคลากร 4. การนิเทศเกี่ยวกับการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก 5. การนิเทศเกี่ยวกับการจัดทำวัสดุอุปกรณ์ 6.การจัดอบรมบุคลากรประจำการ 7. การปฐมนิเทศ 8. งานนิเทศการเกี่ยวกับการจัดทำวัสดุอุปกรณ์ 9. งานนิเทศเกี่ยวกับความสัมพันธ์ชุมชน 10. งานประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว ปีการศึกษา 2550 รวมทั้งสิ้น จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 45 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงแบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบค่าที่ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว พบว่า ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว มีระดับความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว จำนวน 10 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ งานประเมินผล และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคืองานนิเทศการบริการพิเศษ 2.ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว ตามประสบการณ์ทำงาน จำนวน 10 ด้าน พบความแตกต่างกันอย่ามีนัยความสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกข้อยกเว้นข้อ 8. งานนิเทศการบริการพิเศษแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ 3.ผลการเปรียบเทียบระดับความต้องการในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว ตามเขตพื้นที่การศึกษา ระดับความต้องการในการรับในการรับการนิเทศของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว จำนวน 10 ด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่
4
ฉบับที่
3
หน้าที่
23 - 32
ปีพิมพ์
2553
ชื่อสำนักพิมพ์
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1905-9647
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)