รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรีเขต 2
ชื่อเรื่องรอง FACTOR AFFECTING THE ACADEMIC LEADERSHIP BEHAVIORS OF SCHOOL ADMINISTRATORS IN THE SCHOOL UNDER THE OFFICE OF SARABURI EDUCATIONAL SERVICE AREA 2
ชื่อผู้แต่ง
1.พิมพ์กลม ทิพย์มนตรี
2.อรสา จรูญธรรม
3.สุวรรณ โชติการณ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการ
2.ผู้บริหารโรงเรียน
หัวเรื่องควบคุม
1.ภาวะผู้นำ
2.ผู้บริหารสถานศึกษา -- การบริหาร
3.ผู้บริหารสถานศึกษา -- บทบาทและหน้าที่
4.ภาวะผู้นำทางการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการและปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี เขต2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนหรือผู้รักษาการในตำแหน่งผู้บริหารรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่สระบุจี เขต2 จำนวน 459 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การกำหนดภารกิจของโรงเรียน และการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการของโรงเรียน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การจัดการด้านการเรียนการสอน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กันได้แก่ ปัจจัยด้านคุณวุฒิและการศึกษาอบรม ปัจจัยความสามารถในการบริหาร ปัจจัยความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน และปัจจัยมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหาร โดยมีความสัมพันธ์กันที่ระดับนับสำคัญ .01 ทุกปัจจัย 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านคุณวุฒิและการศึกษาอบรม ความสามารถในการบริหาร ความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน และมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหาร กับพฤติกรรมด้านเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ดั้งนี้ 3.1 ปัจจัยด้านมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารสามารถทำนายพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน รองลงมา คือ ด้านความรับผิกชอบในหน้าที่การงาน ด้านความสามารถในการบริหาร และด้านคุณวุฒิและการศึกษาอบรม สามารถทำนายพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนได้ตามลำดับ 3.2 สามารถเขียนสมการพยากรณ์จากปัจจัยทั้งหมด 4 ปัจจัย ซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนได้ร้อยละ 66.9 ซึ่งเขียนเป็นสมการ ได้ดังนี้ สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y=0.342+0.087(qualification) +0.173(capability) +0.221(responsibility) +0.394(Z human relations) สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z=0.104 (Z qualification) +0.172 (capability) +0.230(Z responsibility) +0.481 (Z human relations)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปีที่ 6
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 1 - 12
ปีพิมพ์ 2555
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1905-9647
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)