รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการดำเนินการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระดับอาชีวศึกษาจัดหวัดโดยใช้่กระบวนการเครือข่ายศูนย์กำลังคนอาชีวะจังหวัด
ชื่อเรื่องรอง Development of Management Model For Dual Vocational Education System through Provincial Networking Manpower Centre
ชื่อผู้แต่ง
1.ณรงค์ ฤทธิเดช
2.สุราษฎร์ พรมจันทร์
3.ประดิษฐ์ เหมือนคิด
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.การศึกษาทางอาชีพ -- ไทย
2.ความร่วมมือทางการศึกษา -- ไทย -- วิจัย
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูแบบการดำเนินการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีระดับอาชีวศึกษาจังหวัดโดยใช้กระบวนการเครือข่ายศูนย์กำลังคนอาชีวะวังหวัด สร้างเครื่องมือและคู่มือดำเนินการ และประเมินการดำเนินงานตามรูแบบที่ได้พัฒนาขึ้น ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องรวมทั้งสภาพการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่เป็นอยู่เดิมจากนั้นจึงได้พัฒนารูปแบบโดยประสานงานกันทำของผู้เกี่ยวข้องจากสถานศึกษา สถานประกอบการและเครือข่ายกำลังคนอาชีวะจังหวัด ให้มีการประเมินผลสมรรถภาพก่อนและหลังการฝึกงานในสถานประกอบการ มีการซ่อมเสริมและเติมเต็มสมรรถนะที่จำเป็นและต้องการ สร้างเครื่องมือ และคู่มือดำเนินการ ไประเมินความคิดและความเป็นไปได้ในการใช้งานรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญ นำเสนอในที่ประชุมวิชาการจาเป็นที่มั่นใจแล้ว จึงได้นำไปใช้ที่อาชีวศึกษาจังหวัดตรัง กับผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็น (1) บุคลากรในฝ่ายบริหาร 9 ท่าน หัวหน้างานทวิภาคี 3 ท่าน หัวหน้าแผนกวิชาช่างยนต์ 3 ท่าน และครูสาขาวิชาช่างยนต์ 12 ทาน (2) บุคลากรที่เกี่ยวข้องของสถานประกอบการ ซึ่งเป็นผู้บริหารและครูฝึก 15 ทาน และ (3)( บุคลากรชมรมวิศวกรรมยานยนต์จังหวัดตรัง 6 ทาน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 7 ขุด แปลผล โดยใช้สถิติร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรบาน และเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้การทดสอบค่า F-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อรูปแบบที่พัฒนาขึ้น สอดคล้องไปในทำนองเดียวกัน ก่อนใช้งานที่ผู้เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องของอาชีวศึกษาจังหวัดตรัง เห็นด้วยกับการดำเนินงานตามรูปแบบในระดับมาก (x ? = 4.44) ส่วนในการดำเนินงานนั้น ผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย เห็นด้วยกับกระบวนการสร้างแบบประเมินและการประเมินสมรรถนะพื้นบานและหลักสูตรอบรมซ่อมเสริมก่อนอกฝึกงาน ในระดับมาก (x ?= 4.40 และ 3.68 ตามลำดับ) เห็นกับกระบวนการสร้างแบบประเมินการประเมินสมรรถนะหลังการฝึกงานและหลักสูตรฝึกอบรมเติมเต็ม ในระดับมาก (x ? = 4.33 และ 3.92 ตามลำดับ) ทั้งยังเห็นด้วยกับการดำเนินงานตามรูปแบบและคู่มือดำเนินการที่พัฒนาขึ้นในระดับมาก (x ? = 4.18 และ 4.53 ตามลำดับ) ซึ่งผลจากการวิจัยแสดงให้เห็นว่า รูปแบบการดำเนินการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับอาชีวศึกษาจังหวัด โดยใช้กระบวนการเครือข่ายศูนย์กำลังคนอาชีวะจังหวัดที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปเป็นต้นแบบเพื่อที่จะขยายผลต่อไปในอนาคตได้
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ปีที่ 4
ฉบับที่ 2
หน้าที่ 28 - 34
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 1906-0874
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)