รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อเรื่องรอง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ทิพวัลย์ คำคง |
2. | แม้นมาศ ลีลสัตยกุล |
3. | ปราณี โพธิสุข |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารการศึกษา |
2. | เศรษฐกิจพอเพียง |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการจัดการศึกษาของโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศกที่สะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาและการสะท้อนการจัดการศึกษาตามแนวคิดนี้สู่สังคมภายนอกและโรงเรียนต่างๆ การวิจัยนี้เป็นวิธีวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วมการสัมภาษณ์ และการสนทนาไต่ถาม มีการตรวจสอบข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญ
ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนจัดการศึกษาที่สะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างชัดเจนผ่านปรัชญา วิสัยทัศน์ นโยบาย เป้าหมาย หลักสูตรของโรงเรียนและแทรกอยู่ในชีวิตประจำวันของนักเรียน การจัดการศึกษายึดตามปรัชญาศีลเด่น เป็นงาน ชาญวิชา นักเรียนได้ปฏิบัติจริงทั้งด้านคุณธรรมและการทำงานในสถานประกอบการของชุมชนผลการจัดการศึกษาทำให้นักเรียนมีลักษณะตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ มีความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีคุณธรรมและมีความรู้
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งเสริมมี 4 ประการคือ 1) การยึดพุทธศาสนาเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติ 2) ความศรัทธาของผู้ปฏิบัติต่อพุทธศาสนาและสมณะโพธิรักษ์ อันเป็นผู้นำสูงสุด 3) การมีบุคลากรที่เป็นตัวอย่างในการปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างแท้จริง และ 4) ชุมชนอันประกอบด้วย บ้าน วัด และโรงเรียนประสานกันเป็นหนึ่งเดียว และดำเนินไปในทิศทางเดียวกันคือบุญนิยม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคมี 4 ประการคือ 1) บุคลากรของโรงเรียนมีความขัดแย้งกันในด้านความคิด 2) มีปัญหาในเรื่องการสื่อสารของบุคลากรในโรงเรียน 3)ขาดผู้ดูแลนักรัยนอย่างจริงจัง 4) ผู้ปกครองบางคนสนับสนุน ให้นักเรียนทำผิดกฎระเบียบของโรงเรียนสัมมาสิกขาสันติอโศกได้เสนอให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมผ่านการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจัดนิทรรศการ การเป็นที่ศึกษาดูงานและผ่านสื่อ หนังสือ วิทยุ และโทรทัศน์ รวมทั้งการต่อยอดทางการศึกษาในระดับปริญญาตรีหลักสูตรบริหารศาสตร์ บัณฑิต สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)