รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อเรื่องรอง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การเรียน -- การประเมินผล |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การนำเสนอวิธีการปรับเทียบคะแนนความสามารถโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอวิธีการปรับเทียบคะแนนสามารถ โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการปรับเทียบคะแนนความสามารถ ระหว่างวิธี MASE กับวิธี RE 3) เพื่อตรวจสอบการใช้ผลการเรียนของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาที่ได้จากการปรับเทียบคะแนนความสามารถ ด้วยวิธี MASE ร่วมกับเกณฑ์ตัดสินระดับต้องเฟ้อของเกรด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียน สังกัด สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2549 และสอบข้อสอบ O-NET ปีการศึกษา 2550 จำนวน 15 โรงเรียน จากทุกภูมิภาค จำนวน 5,243 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลทุติยภูมิคะแนน O-NET จากสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและคะแนน GPA 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้จากโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Multilog เวอร์ชัน 7:0 เพื่อหาค่าคะแนนความสามารถและใช้ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการปรับเทียบความเพียงพอของการปรับเทียบ และสัมประสิทธิ์การทำนายเป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบระหว่างวิธี MASE กับวิธี RE ซึ่งเป็นวิธีปรับเทียบแบบใช้สมการถดถอยเดิม
ผลการวิจัยพบ
1. วิธีการปรับเทียบคะแนนความสามารถมีชื่อ ว่าวิธี MASE (Mean Ability Score Equating)ดังสมการ
?_TM^*=r_(?_TM ?_? ) (S_(?_? )/S_(?_TM ) )(?_TM-? ?_TM )+? ?_?
2. ประสิทธิภาพของวิธีการปรับเทียบคะแนนความสามารถ วิธี MASE ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการปรับเทียบต่ำกว่ามีสัมประสิทธิ์ การทำนายสูงกว่าวิธีการปรับเทียบแบบสมการถดถอยเดิมและมีค่าความเพียงพอของการปรับเทียบไม่ต่างกัน
3. การให้เกรดของโรงเรียนมัธยมศึกษาแต่ละโรงเรียนมีทั้งปล่อยเกรดเฟ้อ และกดเกรด แต่มีแนวโน้มว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ให้เกรดเฟ้อ
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)