รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อเรื่องรอง |
Hacked By TheWayEnd
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | ชรินทร์ มั่งคั่ง |
2. | เชษฐภูมิ วรรณไพศาล |
3. | ปรีชา วงศ์ทิพย์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การเรียนรู้องค์การ |
2. | การบริหารองค์ความรู้ |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแม่ฟ้าหลวง และศึกษารูปแบบการจัดการความรู้ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแม่ฟ้าหลวงกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูนิเทศ 5 คน และครูประจำศูนย์การเรียนรู้ 30 คน ประชาชนในพื้นที่สูง 60 คน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์และไม่มีโครงสร้าง แบบสังเกต และแบบบันทึกการสนทนากลุ่มโดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนมุ่งเน้นด้านการพัฒนาการเรียนรู้ภาษาไทยมาบูรณาการร่วมกับกิจกรรมด้านอาชีพในชุมชน และปัญหาที่พบคือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแม่ฟ้าหลวงขาดการนำประสบการณ์จากการปฏิบัติที่เป็นเลิศเข้ามาประยุกต์ในการพัฒนาชุมชนรวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสังเคราะห์เป็น “องค์ความรู้” เพื่อสร้างนวัตกรรมสำหรับการปฏิบัติงานในพื้นที่สูง สำหรับรูปแบบการจัดการความรู้ของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนแม่ฟ้าหลวงได้ค้าพบนวัตกรรมการจัดการความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การสำรวจและศึกษาบริบทชุมชน (Surveying-S) 2) การวางแผนพัฒนาชุมชน (Planning- P) 3) การนิเทศติดตาม (Supervising-S) 4) การแลกเปลี่ยนความรู้ (Sharing-s)หรือเรียกนวัตกรรมการจัดการความรู้นี้ว่า “SPSS approach”
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)