รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.สุภัทร ชูประดิษฐ์
2.พศิน แตงจวง
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.อาชีวศึกษา
2.การพัฒนาศักยภาพมนุษย์
หัวเรื่องควบคุม
1.การศึกษาทางอาชีพ
คำอธิบาย / บทคัดย่อ เป็นที่ยอมรับกันว่า การศึกษาเป็นกลไกไปสู่การเลื่อนสถานะชนชั้นทางสังคม (Social Mobility) ของมนุษย์ในสังคมบนเส้นทางการศึกษาที่ไม่อาจจะปฏิเสธความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมกันในสังคมแม้ว่ารัฐจะลงทุน ทางการศึกษาเพื่อมุ่งหวังเป้าหมายในการพัฒนามนุษย์ให้มีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองเป็นกลไรในการขับเคลื่อนการจำเริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดความผาสุก อย่างไรก็ตามการแข่งขันในการเข้ารับการศึกษาของผู้คนในสังคมยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ ส่งผลให้เกิดการช่วงชิงพื้นที่เพื่อไต่บันไดการศึกษาตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานเพื่อเข้าสู่การศึกษาที่สูงขึ้นทั้งสายสามัญและสายอาชีวศึกษา เพื่อเป้าหมายในการได้รับความรู้และทักษะในการประกอบอาชีพในโลกแห่งการทำงาน บทความนี้ผู้เขียนมีความเชื่อว่า ความไม่เท่าเทียมกันทางการศึกษายังคงมีความเชื่อ ความไม่เท่าเทียมทางการศึกษายังคงมีอยู่ในสังคมไทยอย่างฝังรากลึก แม้ว่ารัฐจะพยายามประกาศนโยบายต่างๆ เพื่อต้องการในการยกระดับคุณภาพการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาและประกาศเป็นกฎหมายเพื่อบังคับใช้ ภายให้ปรัชญาแนวคิดของการศึกษาเพื่อมวลชน (Education for All)แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพที่แท้จริงของสังคมไทยที่เป็นอยู่นั้น พบว่ายังคงมีช่องว่างทางเศรษฐฐานะระหว่างคนรวยและคนจนซึ่งมีความแตกต่างในด้านรายได้อย่างสิ้นเชิงกอปรกับระบบคุณค่าและค่านิยมของผู้ปกครองและเยาวชนไทยในการเข้าศึกษาเพื่อต่อยอดในระดับสูงขั้นอุดมศึกษาเพื่อปริญญาบัตรหรือวุฒิบัตร เพื่อหวังเป็น เจ้าคนนายคน ดั่งคำสั่นสอนของบุพการี แม้ว่า เมื่อภายหลังสำเร็จปริญญาอาจจะต้องเผชิญกับภาวะว่างงานเพราะศึกษาจบมาไม่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานก็ตาม ผู้เขียนจึงมีสมมติฐานว่า “อาชีวศึกษา” จะเป็นกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์และเป็นความหวังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนเป็นเครื่องมือเพื่อการลดปัญหาความยากจนเป็นเสมือนดั่งสะพานเชื่อมโยงคนยากจนเพื่อลดช่องว่าของความไม่เท่าเทียม สามารถพัฒนาศักยภาพของเยาวชนยุคใหม่ให้สร้างทักษะในการประกอบสัมมาอาชีพและมีงานทำและเมื่อมีความพร้อมด้านเศรษฐกิจก็สามารถศึกษาต่อยอดในขั้นอุดมศึกษาได้เช่นเดียวกับผู้เรียนสายสามัญหรือผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีแม้ว่าที่ผ่านมาอาชีวศึกษาจะถูกตีตราจากผู้คนส่วนใหญ่ในสังคมว่าจะเป็นระบบการศึกษาทางทางเลือกของผู้เรียนที่ไม่สามารถเข้าสู่สายสามัญได้ แต่เมื่อสภาพการณ์ค่านิยมได้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกคลอดจนหากเยาวชนผู้เรียนหันมาให้ความสนใจกับการศึกษาอาชีวะศึกษามากขึ้นอุบัติการณ์เหล่านี้ถือเป็นคุณูปการต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาเช่นประเทศไทย ดังนั้นจึงควรหันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมแรงงานคุณภาพ อันเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนซึ่งทุกผ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันรักผิดชอบ เพื่อสร้างสรรค์ผลผลิตของอาชีวศึกษาเพื่อเป็นแรงงานที่มีคุณภาพในอนาคตสิ่งเหล่านี้จะเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยได้อย่างยั่งยืน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปีที่ 35
ฉบับที่ 1
หน้าที่ 32 - 43
ปีพิมพ์ 2551
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)