ชื่อเรื่อง |
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน:โรงเรียนบ้านหนองแปน อำเภอเจริญศิลป์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถทศึกษาสกลนคร เขต2
|
ชื่อเรื่องรอง |
DEVELOPMENT OF TEACHERS' POTENTIAL IN COMPUTER ASSISTED INSTRUCTION OF BAN NONGPHAEN SCHOOL, CHAROENSIL DISTRIC UNDER THE OFFICE OF SAKON PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA2
|
ชื่อผู้แต่ง |
1. | สิริญากร รักเสมอวงค์ |
2. | เพลินพิศ ธรรมรัตน์ |
3. | อนุรักษ์ อุปพงษ์ |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research : AR)โดยมีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3)เพื่อติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตและใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ร่วมวิจัย จำนวน 8 คน และให้ข้อมูล จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาในการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 2) แบบสัมภาษณ์แนวทางในการพัฒนารูปแบบการอบรมการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3) แบบประเมินตนเองก่อน-หลังการเข้ารับการอบรมการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 4) แบบประเมินความพึงพอใจในการพัฒนารูปแบบการอบรมการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 5) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การอบรมปฏิบัติการเรื่องการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 6) แบบประเมินคุณภาพการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 7) แบบสังเกตพฤติกรรมนักเรียน สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis ) จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอโดยความเรียง นำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1.สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการการผลิตบทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในด้านสภาพ พบว่า ครู มีความรู้ความเข้าใจในด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเอง และเห็นว่าโครงการพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์ในการพัฒนาตนเอและผู้เรียนส่วนในด้านปัญหาพบว่าขาดบุคลากรแกนนำ ที่ให้ความรู้ในเรื่องการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์และการนำผลงานการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาใช้ในการเยนการสอนให้แพร่หลาย
2.แนวทางพัฒนาศักยภาพครูด้านการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวงรอบที่ 1 มี 2 แนวทาง ได้แก่ 1) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การนิเทศภายใน ติดตาม ให้คำปรึกษา และในวงรอบที่ 2 มี 1 แนวทาง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่การนิเทศภายใน และการตรวจสอบประเมินผล รวบรวมผลงานเพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ครูผลิตขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ผลิตขึ้น สรุปผลตรวจสอบความสำเร็จของการผลิตบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
|