หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของพนักงานครู สังกัดโรงเรียนเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10
ชื่อเรื่องรอง
The Causal Factors Influencing Using Computers to Education of Teachers Under the jurisdiction of Municipal School in Local Education Zone 10
ชื่อผู้แต่ง
1.
ภาวินี จักรไชย
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา
2.
ปัจจัยเชิงสาเหตุ
หัวเรื่องควบคุม
1.
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของพนักงานครู 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของพนักงานครู กลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ พนักงานครูเทศบาลแกนนำด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จากโครงการความร่วมมือ มหาวิทยาลัยมหาสารคามกับเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด ปีการศึกษา 2552 จำนวน 6 คน และพนักงานครูสังกัดโรงเรียนเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 1,052 คน ได้มาการสุ่มแบบง่าย เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างประกอบด้วย 5 ประเด็น คือ 1) การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา 2) การเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) การยอมรับนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ 4) แรงจูงใจในการทำงาน 5) ความพึงพอใจในการทำงาน และการใช้แบบวัดประกอบด้วย 5 ประเด็นเช่นเดียวกับแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทางแบบ Path Analysis with LISREL ผลการวิจัยพบว่า 1)ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา ได้แก่ การยอมรับนวัตกรรมคอมพิวเตอร์ แรงจูงใจในการทำงาน และความพึงพอใจในการทำงาน 2)โมเดลปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาของพนักงานครู สังกัดโรงเรียนเทศบาล กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 10 มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (x^2=229.51,df =231, p = 20.515) ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.982 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.976 ดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.020 โดยโมเดลที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาได้ ร้อยละ 62.10 ( R^2=.621)
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่
22
ฉบับที่
1
หน้าที่
81 - 90
ปีพิมพ์
2554
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0125-3212
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)