คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่ง องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับหนึ่งแฝงภายใน องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายใน และการทดสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายใน ภายใต้เงื่อนไขกลุ่มตัวอย่างขนาด 100, 200, 400, 800, 1,200, 1,600 และ 2,000 คน จำนวนข้อสอบ 3, 5ล 8, 10และ15 ข้อต่อองค์ประกอบ แลขนาดกลุ่มตัวอย่างในการทดสอบการทำงานที่ต่างกันของข้อสอบขนาด 1ล600, 2,000, 2,400, 2,800, 3,200, 3,600 และ 4,000 คน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์ เขต 2 จากการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2548 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบรรยายใช้โปรแกรม SPSS for Windows Version 16.0 การหาคุณภาพแบบทดสอบใช้โปรแกรม BILOG MG 3.0 การวิเคราะห์องค์ประกอบใช้โปรแกรม AMOS 16.0 และการทดสอบค่าความเชื่อมั่น G – Coefficient ใช้โปรแกรม GENOVA
ผลการวิจัยพบว่า
1.โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายในมีประสิทธิภาพมากที่สุด โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เมื่อไม่มีการปรับโมเดลอยู่ในระดับดี โดยพิจารณาจากค่าดัชนีวัดความสอดคล้องของโมเดล ซึ่งพบว่า=1658.181, df =1130, p = .000, GFI = .919, AGFI = .909, CFI = .643 และ RMSEA = .024 เมื่อใช้กลุ่มตัวอย่างตั้งแต่ 800 ตังอย่างขึ้นไป และเมื่อพิจารณาตามขนาดของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องไค-สแควร์ ไม่แปรเปลี่ยนตามขนาดกลุ่มตัวอย่างแต่แปรเปลี่ยนตามจำนวนข้อความต่อองค์ประกอบ
2. การตรวจสอบการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองแฝงภายใน จำแนกตามเพศโดยใช้เทคนิค Multi-Group พบว่าข้อสอบทำหน้าที่ต่างกัน 5 ข้อ และเมื่อตัดข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันออกพบว่าค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของข้อสอบสูงขึ้น
|