รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
การประยุกต์แบบจำลองทางเศรษฐมิติสำหรับการวางแผนกำลังแรงงานและการศึกษาของไทย
|
ชื่อเรื่องรอง |
An Application of Econometric model for Labour Force and Educational Planning in Thailand
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การบริหารการศึกษา |
2. | การจัดการศึกษา |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพยากรณ์ปริมาณกำลังแรงงานในแต่ละระดับการศึกษา พยากรณ์ความต้องการแรงงานที่จำแนกตามเพศ และระดับการศึกษาที่สอดคล้องกับตัวแปรทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคตในแต่ละสาขาการผลิต กลุ่มตัวอย่างคือ ข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ.2530-2550 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบจำลองปริมาณกำลังแรงงาน และแบบจำลองความต้องการกำลังแรงงานซึ่งเป็นรูปแบบฟังก์ชันคอบบ์-ดักลาส สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของตัวแปร และวางแผนการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังแรงงานในอนาคต คือ การวิเคราะห์สมการถดถอยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา
ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมประเทศไทยมีแนวโน้มปริมาณกำลังแรงงานใหม่เพิ่มสูง โดยกำลังแรงงานใหม่ระดับประถมศึกษาและต่ำและระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีแนวโน้มลดลง แต่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ซึ่งเป็นแรงงานช่างฝีมือลดต่ำลงอย่างมากในขั้นวิกฤติ ส่วนระดับปริญญาตรีเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สำหรับความต้องการแรงงานในภาพรวม พบว่ามีความต้องการแรงงานระดับล่างที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่ามากที่สุดในระดับที่เกินกว่าร้อยละ 50 ของความต้องการทั้งหมด เมื่อวิเคราะห์เป็นรายสาขาพบว่า สาขาเกษตรกรรม และสาขาก่อสร้าง เป็นสาขาที่เสียเปรียบในด้านรายได้จากการผลิตมากที่สุด เพราะมีผลิตภาพการผลิตต่ำเนื่องจากจากมีความต้องการแรงงานระดับล่างเป็นจำนวนมาก สำหรับสาขาบริการสาขาพาณิชยกรรม สาขาการขนส่งและการสื่อสาร และสาขาอุตสาหกรรม เป็นสาขาที่มีความต้องการแรงงานระดับล่างค่อนข้างต่ำ จึงเป็นสาขาที่มีผลิตภาพการผลิตสูงและมีความได้เปรียบเทียบในด้านการกระจายรายได้จากการผลิต ดังนั้น การพัฒนาการผลิตควรพัฒนาคุณภาพกำลังแรงงานระดับกลางที่มีทักษะในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)