หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การเทียบเคียงการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานสำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องรอง
Benchmarking of School-Based Management for Elementary Schools under Bangkok Metropolitan Administration
ชื่อผู้แต่ง
1.
นคร แสงนิล
2.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์
3.
นิตยา ภัสสรศิริ
4.
วิเชียร เกตุสิงห์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
หัวเรื่องควบคุม
1.
การบริหารการศึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management : SBM) สำหรับโรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร (2) สร้างเกณฑ์เทียบเคียงวิธีปฏิบัติงานที่ดีที่สุดของ SBM (3) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของ SBM เฉพาะส่วนที่ปฏิบัติงานไม่สมบูรณ์ (5) นำเสนอแนวทางการพัฒนา SBM การวิจัยนี้ใช้วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กระบวนการเทียบเคียงใช้ประบวนการของทักเกอร์ และประเภทของการเทียบเคียงใช้การเปรียบเทียบภายในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ SBM คือ โรงเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 222 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้แนวการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน โรงเรียนละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 1,776 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดสภาพ SBM มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนมาตรฐาน เปอร์เซนไทล์ และ การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบสมมุติฐานใช้ระดับความมีนัยสำคัญ .05 นอกจากนี้ยังใช้วิธีการเยี่ยมชมกรณีศึกษาจากโรงเรียนที่ปฏิบัติงาน SBM ได้ยอดเยี่ยม 3 โรงเรียนจำแนกตามขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ อย่างละ 1 โรงเรียน รวมทั้งการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำไปสู่การหาแนวทางการพัฒนา SBM ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพ SBM ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เกณฑ์เทียบเคียงสภาพ SBM ที่โรงเรียนทุกแห่งใช้เป็นเป้าหมายในการพัฒนา โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยของคะแนนมาตรฐานที่ 558.25 ขึ้นไป (3) สภาพ SBM จำแนกตามขนาดโรงเรียนไม่แตกต่างกัน (4) ช่วงห่างระหว่างคะแนนเกณฑ์เทียบเคียงกับคะแนนสภาพ SBM ของโรงเรียนที่ปฏิบัติงานได้ไม่สมบูรณ์ โดยภาพรวมและรายมิติมีช่วงห่างของค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานระหว่างร้อยละ 56.74-69.91 และ (5) แนวทางการพัฒนา SBM มีดังนี้ (5.1) สำหรับมาตรฐานด้านการกระจายอำนาจ ควรปรับปรุงโครงสร้างการบริหารการศึกษาขั้นพื้นฐาน การแก้ไขระบบงบประมาณควรเป็นแบบมุ่งเน้นผลงาน ควรมีการให้อำนาจในการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร และควรใช้ระบบการทำงานแบบไร้กระดาษ (5.2) สำหรับมาตรฐานการบริหารแบบมีส่วนร่วม ควรเสริมความรู้ ความเข้าใจในบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบต่อ SBM แก่คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (5.3) สำหรับมาตรฐานด้านธรรมาภิบาลควรรายงานผลการดำเนินการทุกด้านให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่
21
ฉบับที่
2
หน้าที่
37 - 50
ปีพิมพ์
2553
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0125-3212
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)