หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวางนัยทั่วไปเพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3
ชื่อเรื่องรอง
Development of Instructional Process by Using the Process of Generalization to Enhance Algerbraic Reasoning Ability And Mathematical Communication of Ninth Grade Students
ชื่อผู้แต่ง
1.
พรรณทิพา พรหมรักษ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการนัยทั่วไป เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยพิจารณาจากความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดยวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสภาพปัญหาการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาสร้างกระบวนการเรียนการสอน และนำไปทดลองใช้กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 79 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 40 คนและกลุ่มควบคุม 39 คน ระยะเวลาในการทดลอง 12 สัปดาห์ เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการสมการและเศษส่วนของพหุนาม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิต และแบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยขั้นตอน 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการสร้างความสัมพันธ์ 2) ขั้นการปฏิบัติกิจกรรม 3) ขั้นการสร้างข้อสรุป 4) ขั้นการประยุกต์ความรู้ 2. ผลของการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีดังนี้ 2.1 ความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 ความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.3 ความสามารถในการให้เหตุผลทางพีชคณิตและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดสอบที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น นักเรียนสามารถสร้างข้อสรุปอย่างเป็นเหตุเป็นผล และสามารถอธิบายแนวความคิดโดยใช้ภาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่
21
ฉบับที่
2
หน้าที่
23 - 36
ปีพิมพ์
2553
ชื่อสำนักพิมพ์
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
0125-3212
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)