รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบการดำเนินงานระบบการให้คำปรึกษานักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 4
ชื่อเรื่องรอง
ชื่อผู้แต่ง
1.สมคิด แพงจันทร์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.นักเรียนมัธยมศึกษา -- การให้คำปรึกษา
2.นักเรียน -- การดูแล
3.นักเรียนมัธยมศึกษา -- การดูแล
4.นักเรียน -- การให้คำปรึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ ระบบการให้คำปรึกษานักเรียนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่ง ของการพัฒนาคนให้มีคุณภาพ สถานศึกษา ครูอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง จึงร่วมแรงร่วมใจกันช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนานักเรียนอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยยึดสายใยความผูกพันระหว่างครูและศิษย์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา อุดรธานีเขต 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 จำแนกตามสถานภาพและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นครุและนักเรียนที่อยู่ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุครธานีเขต 4 ซึ่งเป็นครูจำนวน 313 คน และนักเรียนจำนวน 375 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ตามแบบของลิเคอร์ท ซึ่งมี 5 ระดับ คือมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 30 ข้อ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้การทดสอบด้วยสถิติทดสอบที ผลหารศึกษาค้นคว้าปรากฏดังนี้ 1. การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 โดยภาพรวมพบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับการปฏิบัติอยู่ในทุกระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด และรองลงมาตามลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคัดกรองนักเรียน รองลงมาได้แก่ ด้านการส่งต่อ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมนักเรียน และด้านการป้องกัน และการแก้ไขปัญหา ตามลำดับ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 จำแนกตามสถานภาพในภาพรวมไม่แตกต่างกันส่วนรายด้านพบว่าการคัดกรองนักเรียน และด้านการส่งต่อมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่นๆมีความคิดเห็นไม่แต่ต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับ การดำเนินงานระบบการดุแลช่วยเหลือ นักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานีเขต 4 จำแนกตามขนาดของสถานศึกษาพบว่าไม่แตกต่างกันในภาพรวมและรายด้าน
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร บทความวิจัย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันรัชต์ภาคย์
ปีที่ 1
ฉบับที่ 4
หน้าที่ 266 - 271
ปีพิมพ์ 2554
ชื่อสำนักพิมพ์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันรัชต์ภาคย์
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)