รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
ทัศนคติของครูสายผู้ปฏิบัติการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ต่อ การจัดกระบวนการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพ กรณีศึกษา:โรงเรียนในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลนครแม่สอด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | ครู -- ทัศนคติ -- วิจัย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
จากการวิจัย เกี่ยวกับ ทัศนคติของครูสายผู้ปฏิบัติการสอนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ต่อ การจัดกระบวนการเรียนการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ให้มีประสิทธิภาพ: กรณีศึกษาโรงเรียนในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลนครแม่สอด และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 2 อำเภอแม่สอด ข้อคิดเห็น หลักการและวิธีการสอนจากทัศนคติของครูสายผู้สอนระดับประถมศึกษา และข้อเสนอแนะกลุ่มตัวอย่างครูสายผู้ปฏิบัติการสอนจากโรงเรียนในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลนครสอด และโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตากเขต 2
ผลการวิจัย
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากที่สุด ได้แก่ เพศหญิง มีอายุจริง อายุ 32 ปี ช่วงอายุ 31-40ปี นับถือศาสนาพุทธ ระดับการศึกษาปริญญาตรี สถานภาพสมรสแล้ว การดำรงตำแหน่งครู สอนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท/เดือน ใช้เทคนิคการสอนใช้บ่อยที่สุดการสอนแบบบรรยาย และใช้เทคนิคการสอนในบรรยากาศขั้นการสอนบทเรียนบ่อยที่สุด
2. การแสดงทัศนคติของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยภาพรวม มีทัศนคติอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน คือ ด้านหลักหลักสูตจรการสอนด้านเทคนิคการสอน ด้านนวัตกรรม ด้านความสัมพันธ์ ด้านอาชีพครู ด้านครูมืออาชีพ
3. สมมติฐานในการวิจัย จากการเปรียบเทียบความคิดเห็น โดยใช้ค่าสถิติ t-test และ f-test พบว่า อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา สถานภาพ ตำแหน่ง รายได้ต่อเดือน การใช้เทคนิคการสอนที่แตกต่างกัน และใช่เทคนิคในขั้นกาสอนต่างๆมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ และเพศกับการเรียนการสอนระดับชั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงไม่เป็นตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)