รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง |
แรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1
|
ชื่อเรื่องรอง |
|
ชื่อผู้แต่ง |
|
หัวเรื่องคำสำคัญ |
|
หัวเรื่องควบคุม |
1. | การปฏิรูปการเรียนรู้ |
2. | การปฏิรูปการศึกษา -- ไทย |
|
คำอธิบาย / บทคัดย่อ |
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงที่อิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ไดแก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ปฏิบัติการสอนจำนวน 567 คน สถานศึกษาละ 3 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตรส่วนประมาณค่า จำนวน 53 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับที่ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียบรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 โดยรวมรวมและรายด้านมีระดับความคิดเห็นแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก โดยระดับ ความคิดเห็น ด้านนโยบายและการบริหารงาน มีระดับความคิดเห็นมากคิดเห็นมากเป็นคิดเห็นมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่การงาน และด้านความสำเร็จในหน้าที่การทำงาน ส่วนระดับความคิดเห็นมากเป็นลำดับสุดท้าย คือ ด้านเงินเดือนค่าตอบแทนและสวัสดิการและความมั่นคงในระดับมากโดยระดับความคิดเห็น ด้านนโยบายและบริหารอยู่ในระดับหนึ่ง รองลงมา คือ ด้านการนิเทศงานและด้านความสำเร็จในหน้าที่การงานลำดับสุดท้ายคือ ด้านเงินเดือน ค่าตอบแทนละสวัสดิการ ส่วนครูผู้ปฏิบัติการสอน หน้าที่การงาน ด้านลักษณะงาน ลำดับสุดท้ายคือ ด้านความมั่นคงในงาน ซึ่งไม่สอดคล้องกับทฤษฎีของเฮิร์สเบิร์กที่ว่าการจูงใจในการปฏิบัติงานจูงใจหรือปัจจัยจูงใจหรือกระตุ้นอยู่ในลำดับแรก
เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 ตามสถานภาพในการปฏิบัติงาน พบว่า โดยรวมผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ปฏิบัติ การสอนมีความคิดเห็นแรงจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานไม่แตกต่างกัน พิจารณารายข้อ พบว่า การให้ความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางปฏิรูปการเรียนรู้ การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนาการสอนตามแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ การเปิดโอกาส ให้มีส่วนร่วมกันการกำหนดแนวทางการพัฒนาการสอนแนวทางการปฏิรูปการเรียนรู้ การให้มีการกำหนดนโยบายให้เข้ารับการอบรมสัมมนาเกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจ ในหลักการปฏิรูปการเรียนรู้ ให้ได้รับเงินเดือนที่มีความเหมาะสมกับภาระงานที่รับผิดชอบและให้ได้รับสวัสดิการอื่นๆ ที่จำเป็นนอกเหนือจากสวัสดิการระบบราชการจัดให้ เช่น กองทุนช่วยเหลือ เงินกู้ยืมพิเศษ มีระดับความคิดเห็น แรงจูงใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
|
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)