หน้าแรก
เกี่ยวกับ
ติดต่อ
ผู้ดูแลระบบ
เมนูหลัก
ค้นหาแบบ Basic
ค้นหาแบบ Advance
ค้นหาแบบ Browse
หน้าแรก
/
รายละเอียดบทความ
รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง
Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.
นิธิดา อดิภัทรนันท์
หัวเรื่องคำสำคัญ
หัวเรื่องควบคุม
1.
ภาษาอังกฤษ -- การศึกษาและการสอน
2.
ภาษาอังกฤษ -- การอ่าน -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
คำอธิบาย / บทคัดย่อ
จากการสำรวจการศึกษาปัญหาทางโครงสร้างไวยากรณ์ของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายในช่วง 10 ปีนี้ ไม่ปรากฏว่ามีงานวิจัยหรือบทความใดที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่มีปรากฏเป็นบทความเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัยที่กล่าวว่า ผู้เรียนในระดับมหาวิทยาลัยในปัจจุบันมีความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษด้อยลงกว่าในอดีต นักศึกษาส่วนใหญ่ยอมรับว่ามีความรู้ด้านไวยากรณ์ไม่เพียงพอ บางคนกล่าวว่าได้วิธีเดามาตลอดแม้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (สรณีย์ วงศ์เบี้ยสัจจ์,2536) ส่วนงานวิจัยด้านการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2534 พบว่า นักศึกษาขาดพื้นฐานความรู้ทางไวยากรณ์ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเรียนภาษาอังกฤษในระดับมหาวิทยาลัย (สุทธิรัตน์ รุจิเกียรติกำจร และคณะ, 2537) บทความและงานวิจัยที่กล่าวข้างต้นย่อมชี้ให้เห็นว่าการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในระดับมัธยมศึกษาไม่ประสบผลเท่าที่ควร ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่ยาก และมีความสลับซับซ้อน เพราะผู้เขียนต้องขบคิดแก้ปัญหาว่า จะถ่ายทอดความคิดที่มีอยู่ให้ปรากฏเป็นหนังสืออย่างไรจึงจะทำให้ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจและสื่อความหมายได้ตรงกัน ยิ่งหากเป็นการเขียนในภาษาอังกฤษก็จะอาศัยความรู้ความสามารถอีกหลายด้าน เช่น การใช้คำ การใช้ไวยากรณ์ เป็นต้น การจะเขียนต้องเขียนเป็นประจำเช่นเดียวทักษาอื่นๆ เช่น ดนตรี หรือกีฬา ในการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ ทักษะการเขียนมักถูกละเลย นักเรียนมีโอกาสเขียนความเรียงน้อยมาก เนื่องจากไม่มีการสอบเขียนในข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย (นิธิดา อดิภัทรนันท์, 2539) อีกประการหนึ่ง ครูมักจะไม่สอนวิธีเขียนเรียงความ เพราะเชื่อว่าเกิดจากความสามารถทางภาษาเฉพาะบุคล Grabe & Kaplan (1989) กล่าวว่า นักการศึกษาเชื่อว่างานเขียนมีความแตกต่างตามภาษาและวัฒนธรรม ด้วยเหตุนี้การเขียนจึงเป็นการถ่ายทอดและเรียนรู้ได้โดยการศึกษา ตัวผู้เขียนเองสามารถเรียนรู้กลวิธีการเขียนหลากหลายได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาวิธีการเขียนของนักเรียน แนวการถ่ายทอดความคิดศึกษาถึงความสามรรถในการนำไวยากรณ์ที่ได้เรียนไปใช้ในระดับสูงกว่าประโยค รวมถึงศึกษาถึงความสามารถในการนำหลักไวยากรณ์ที่ได้ไปใช้ในระดับที่สูงกว่าประโยค รวมถึงศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเขียนความเรียงภาษาอังกฤษเพื่อหาแนวทางการสอนไวยากรณ์และการสอนเขียนที่มีประสิทธิภาพสำหรับนักเรียนไทย
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร
วารสารการวิจัยทางการศึกษา
ปีที่
2
ฉบับที่
1
หน้าที่
8 - 15
ปีพิมพ์
2545
ชื่อสำนักพิมพ์
ศูนย์วิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN
1513-9060
ตำแหน่งในระบบ
Link
ภาษา
Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม
(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)