รายละเอียดบทความ
ชื่อเรื่อง Hacked By TheWayEnd
ชื่อเรื่องรอง Hacked By TheWayEnd
ชื่อผู้แต่ง
1.เฐญจวรรณ บุณยะประพันธ์
หัวเรื่องคำสำคัญ
1.ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา
หัวเรื่องควบคุม
1.การให้คำปรึกษา
คำอธิบาย / บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม สร้างโปรแกรมการฝึกอบรม และเปรียบเทียบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ปี พ.ศ.2552 โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มแรก คือผู้ให้คำปรึกษาที่ใช้ในการศึกษาองค์ประกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 355 คน ส่วนกลุ่มที่2 คือ ผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับการประเมินจากแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นในขั้นที่ 1 และมีคะแนนลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาตั้งแต่เปอร์เซ็นไทล์ที่ 50 ลงมา จำนวน 24คน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คน ที่สมัครใจและมีเวลาเพียงพอเพื่อรับการฝึกอบรม และกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน ไม่ได้รับการฝึกอบรม\ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบด้วย4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเจตคติของผู้ให้คำปรึกษา ด้านคุณสมบัติทั่วไปของผู้ให้คำปรึกษาด้านความรู้ และด้านความสามารถในการปฏิบัติ โมเดลลักษณะของผู้ให้คำปรึกษามีความเหมาะสมพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในเกณฑ์สูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสามารถวัดองค์ปนระกอบลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมได้ การพัฒนาลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นการสร้างสัมพันธภาพ ขั้นการพัฒนาลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา ขั้นการฝึกปฏิบัติ ขั้นการประเมิน และขั้นการประยุกต์ใช้ โดยประยุกต์ทฤษฏี เทคนิคการให้คำปรึกษาและเทคนิคการฝึกอบรม ผลเปรียบเทียบการให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรม โดยรวมและรายองค์ประกอบพบผลปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กับการวัดก่อนทดลอง หลังทดลอง และหลังการติดตามผล ซึ่งส่งผลต่อลักษณะของผู้ให้คำปรึกษา ในโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้ ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองและหลังการติดตามผล สูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 สำหรับหลังกาทดลองและหลังการติดตามผลแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ลักษณะของผู้ให้คำปรึกษาในโรงงานอุตสาหกรรมของกลุ่มควบคุม ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และหลังการติดตามผล แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียดวารสารเพื่อติดตามอ่านบทความฉบับเต็ม (Full Text)
ชื่อวารสาร วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปีที่ 21
ฉบับที่ 3
หน้าที่ 109 - 124
ปีพิมพ์ 2553
ชื่อสำนักพิมพ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อสำนักพิมพ์ภาษาอื่น
ISSN 0125-3212
ตำแหน่งในระบบ Link
ภาษา Thai
ติดต่อบรรณารักษ์
เพื่อยืมตัวเล่มวารสารไปถ่ายเอกสารบทความฉบับเต็ม

(บริการนี้สำหรับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์นเท่านั้น)